The relationship between tympanic membrane perforation size and audiologic improvement after myringoplasty with temporalis fascia graft

Authors

  • Yossawee Wangworawut Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Thammasat university
  • Nida Wright Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Thammasat university

Keywords:

Tympanic membrane perforation sizes, Audiologic improvement, Myringoplasty with temporalis fascia, ขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหู, ระดับการได้ยินที่ดีขึ้น, ผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู

Abstract

Introduction: Tympanic membrane is the main component in acoustic coupling hearing system. Tympanic membrane perforation can result in hearing loss up to 28.5 dB. When the size of perforation is large, repairing by myringoplasty is the procedure of choice. This study aim to investigate the relationship between tympanic membrane perforation size and audiologic improvement after myringoplasty with temporalis fascia graft, and to evaluate the difference between estimation of tympanic membrane perforation size by physical examination and program Image J. Design Observational analytic studies with prospective data collection.

Method: The patients aged between 18-70 year old with an indication for myringoplasty were enrolled from Thammasat University Hospital. Before the surgery, all patients’ tympanic membrane perforation pictures were taken with rod telescope 0o (Karl storz 7218AA) and hearing level was measured by an audiogram. After the surgery was performed, the patients hearing level was reevaluated with an audiogram at six weeks.

Result: There were 23 patients enrolled in this study. The mean of perforation sizes when measured by physical examination was 54.56% +/- 20.16%, while the mean of perforation sizes when measured by program Image J was 30.94% +/- 15.36%. The standard error mean was 2.59, resulting in the perforation sizes measured by physical examination was significantly greater than that measured by program Image J (p=0.00). The Bland-Altman plot showed that the overestimation was around 20%. There was no relationship between the tympanic membrane perforation sizes and the error in perforation sizes estimation (p=0.857). When observing the relationship between tympanic membrane perforation sizes and audiologic improvements after surgery, we found that none existing (p=0.195).

Discussion and Conclusion: Measuring of tympanic membrane perforation sizes by physical examination is inaccurate. The author proposes the use of standardized endoscopic measurement for more precise evaluation. There was no relationship between tympanic membrane perforation sizes and hearing improvements after surgery.

บทคัดย่อ

บทนำ: เยื่อแก้วหูเป็นส่วนประกอบหลักของระบบการนำเสียงโดยใช้เยื่อแก้วหูและกระดูกหูชั้นกลาง (acoustic coupling) หากมีการสูญเสียของเยื่อแก้วหูจะทำให้สูญเสียการได้ยินได้มากถึง

๓๘.๕ dB ในกรณีที่รูทะลุมีขนาดใหญ่จะรักษาโดยการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (myringoplasty) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูกับระดับการได้ยินที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู และเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างการประเมินขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูด้วยการตรวจร่างกายกับการใช้โปรแกรม Image J

วิธีการศึกษา:  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยอายุ ๑๘ - ๗๐ ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเยื่อแก้วหูทะลุด้วยสาเหตุต่างๆ และได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจร่างกายประเมินขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหู ถ่ายภาพรูทะลุของเยื่อบุแก้วหูเพื่อนำไปประเมินขนาดรูทะลุด้วยโปรแกรม Image J และได้รับการส่งตรวจวัดระดับการได้ยินก่อนการผ่าตัด หลังได้รับการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการส่งตรวจวัดระดับการได้ยินอีกครั้งที่หกสัปดาห์หลังการผ่าตัด

ผลการศึกษา:  จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น ๒๓ คน พบว่าการประเมินขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูด้วยการตรวจร่างกายมีค่าสูงกว่าค่าที่ประเมินด้วยโปรแกรม Image J อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = ๐.๐๐) และไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูกับระดับการได้ยินที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (p = ๐.๑๙๕)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูไม่ได้สัมพันธ์กับระดับการได้ยินที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูและขนาดรูทะลุของเยื่อแก้วหูเมื่อประเมินด้วยการตรวจร่างกายโดยโสต ศอ นาสิกแพทย์จะมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงซึ่งได้จากการประเมินด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

 

 

Published

2018-03-27

Issue

Section

Original Articles