การจำแนกเชื้อ Neisseria spp. โดยเทคนิค Matrix-assisted laser desorption/ionization–time of flight (MALDI-TOF) mass spectrometry

Authors

  • ปริศนา บัวสกุล บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์มหาบัณฑิต ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จันทิมา จเรสิทธิกุลชัย ห้องปฏิบัติการวิจัยโปรตีโอมิกส์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ปิยะนุช โนจา กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สิทธิรักษ์ รอยตระกูล ห้องปฏิบัติการวิจัยโปรตีโอมิกส์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ธีรกุล อาภรณ์สุวรรณ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

Neisseria, MALDI-Biotyper, MALDI-TOF, Mass spectrometry

Abstract

บทนำ: การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคหนองในชนิด Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในคนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอุบัติการณ์การติดเชื้อโรคเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรจะมีเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อที่ง่าย รวดเร็วและถูกต้อง ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยี Matrix-assisted laser desorption/ionization–time of flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) เพื่อระบุและแยกแยะเชื้อ N. gonorrhoeae สายพันธุ์ก่อโรคออกจาก Neisseria spp. สายพันธุ์อื่นๆ
วิธีการศึกษา: นำ Neisseria จำนวน ๗ สายพันธุ์ และเชื้อ Moraxella catarrhalis มาเลี้ยงในวุ้นช็อกโกแลต จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วย MALDI-TOF MS
ผลการศึกษา: พบว่า Neisseria spp. จำนวน ๗ สายพันธุ์ มีการแสดงออกของแถบเปปไทด์ที่จำเพาะ และแตกต่างจากลายพิมพ์แถบเปปไทด์ของเชื้อ M. catarrhalis
วิจารณ์ และ สรุปผลการศึกษา: ข้อดีของเทคนิค MALDI-TOF MS ได้แก่ มีความจำเพาะและความไวสูงควบคู่กับการตรวจทำได้อย่างรวดเร็วทำให้มีการนำวิธีการนี้มาใช้ในการระบุสายพันธุ์ Neisseria spp. ทดแทนวิธีมาตรฐานที่ยังคงใช้ในปัจจุบัน

Downloads

Published

2015-09-30

Issue

Section

Original Articles