การนำการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง (Transformative Learning) มาใช้ในการสอนวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว สำหรับนิสิตหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Authors

  • ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วนาพร วัฒนกูล ศูนย์การเรียนรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาบริการปฐมภูมิ เขต ๗ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สตางค์ ศุภผล ศูนย์การเรียนรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาบริการปฐมภูมิ เขต ๗ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • อริยพร คุโรดะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวดี เอื้ออรัญโชติ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การเรียนรู้แปลง, เวชศาสตร์ครอบครัว, การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Abstract

บทนำ: แพทยสภากำหนดให้ผู้ที่จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต้องมีทักษะการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพแพทย์ควรมีความเข้าใจในความทุกข์ยากของผู้อื่นและเคารพศักดิ์ศรีของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยด้วย “หัวใจความเป็นมนุษย์” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำสุนทรียสนทนา (Dialogue) และการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว จนทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง (Transformative Learning) เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเห็นใจผู้ป่วย (Empathy) ได้มากขึ้น
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ติดตามผลการเรียนรู้ของนิสิตหลังผ่านการเรียนวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวในชั้นปรีคลินิก โดยใช้วิธีสนทนากลุ่ม (Focus group) กับนิสิตชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๒๖ คน
ผลการศึกษา: นิสิตมีความเข้าใจและเห็นใจผู้ป่วยมากขึ้น สามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ป่วยที่ตนรับผิดชอบและเพื่อนร่วมงาน สามารถคิดทบทวนความรู้สึกของตนเองในการทำกิจกรรมแล้วนำมาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: มีความเป็นไปได้ที่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง จะทำให้นิสิตเกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดและมุมมอง เกิดความเข้าใจทั้งตัวเอง เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงการเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยและครอบครัว และมีการแสดงออกอย่างเหมาะสมในการไปดูแลผู้ป่วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

Downloads

Published

2015-09-30

Issue

Section

Original Articles