ผลของการเติมโคเอนไซม์คิวเทนในน้ำยาแช่แข็งแบบเนื้อแก้ว ต่ออัตราการรอดชีวิตของไข่มนุษย์ที่เลี้ยงภายนอกร่างกายจนเจริญเต็มที่

Authors

  • นพรัตน์ จันสนธิ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เจริญไชย เจียมจรรยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พัชรา วิสุตกุล งานบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ภาวะมีบุตรยาก, การแช่แข็งไข่เนื้อแก้ว, อัตราการรอดชีวิต, สารอนุมูลอิสระ, โคเอนไซม์คิวเทน

Abstract

บทนำ: ภาวะมีบุตรยากส่งผลกระทบต่อความสุขสมบูรณ์ของครอบครัว ทำให้ผู้คนหันมาสนใจด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจคือ การแช่แข็งไข่ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ในการเก็บรักษาภาวะเจริญพันธุ์ของหญิงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการทำงานของรังไข่ แต่ก็พบปัญหาสำคัญคือการรอดชีวิตของไข่แช่แข็งภายหลังการละลายยังมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา
ผลของโคเอนไซม์คิวเทนในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของไข่ภายหลังผ่านกระบวนการแช่แข็ง
วิธีการศึกษา: นำไข่อ่อนบริจาคที่ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยเพาะเลี้ยงจนสุกสมบูรณ์เต็มที่แล้วแบ่งการทดลองออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ใส่โคเอนไซม์คิวเทนลงในน้ำยาแช่แข็ง (no co-enzyme Q10) กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ใส่โคเอนไซม์คิวเทนลงในน้ำยาแช่แข็ง (30 μM co-enzyme Q10)
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของอัตราการรอดชีวิต แต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับ 30 μM co-enzyme Q10 supplement มีระดับสารอนุมูลอิสระ (Reactive oxygen species: ROS) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
วิจารณ์ และ สรุปผลการศึกษา: การเติมสารโคเอนไซม์คิวเทนไม่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของไข่ แต่ลดระดับสารอนุมูลอิสระที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อไข่

Downloads

Published

2015-09-30

Issue

Section

Original Articles