Job burnout and related factors among pharmaceutical representatives of international pharmaceutical company
Keywords:
Job burnout, Pharmaceutical representatives, ภาวะหมดไฟในการทำงาน, ผู้แทนยาAbstract
Introduction: The purpose of this study was to evaluate the level of job burnout and related factors among pharmaceutical representatives of international pharmaceutical company.
Method: In this cross-sectional study, 273 pharmaceutical representatives were randomized by cluster sampling method. Data were collected during March and May, 2014. Self-administered questionnaire consisted of demographic data, occupational data and Maslach Burnout Inventory-General Survey (MBI-GS)-Thai version. Data were analyzed using descriptive statistics; frequency, percentage and inferential statistics; Chi-square test and Fisher's exact test.
Result: 53.1% of the pharmaceutical representatives had low level of emotional exhaustion, 40.3% had moderate level of cynicism and 55.3% had high level of professional inefficacy. One personal factor was related to high levels of emotional exhaustion and some work factors were related to high levels of emotional exhaustion, cynicism and professional inefficacy.
Discussion and Conclusion: Work factors were related to high levels of burnout that additional training in the jobs of their responsibility may be able to reduce the level of burnout among pharmaceutical representatives of international pharmaceutical company.
Key words: Job burnout, Pharmaceutical representatives
ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ
วัลลภ วิชาญเจริญสุข*, สุนทร ศุภพงษ์**
* กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์
** ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
บทนำ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ประกอบอาชีพผู้แทนยาที่ทำงานในบริษัทยาข้ามชาติ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ จำนวน ๒๗๓ คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงาน แบบวัดภาวะหมดไฟในการทำงาน Maslach Burnout Inventory-General Survey ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher's exact test
ผลการศึกษา: ภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๑ ด้านการเมินเฉยต่องานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๓ และด้านความสามารถในการทำงาน พบว่าส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๓ ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟระดับสูงด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และปัจจัยการทำงานมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟระดับสูงทั้งสามองค์ประกอบ
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ปัจจัยการทำงานมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกอบรมเรียนรู้เพิ่มเติมในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
คำสำคัญ: ภาวะหมดไฟในการทำงาน, ผู้แทนยา