Prevalence and associated factors of voice disorders among school teachers in Bangkok Metropolitan Administration
Keywords:
Voice disorder, Prevalence, Teacher, ภาวะเสียงผิดปรกติ, ความชุก, ครูAbstract
Prevalence and associated factors of voice disorders among school teachers in Bangkok Metropolitan Administration
Usanee Chantree*, Sarunya Hengpraprom**
* Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajathanee Hospital, Department of Medical Service, Ministry of Public Health, Thailand
** Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
Introduction: The purpose of this study was to determine the prevalence and associated factors of voice disorders among school teachers in Bangkok Metropolitan Administration.
Method: In this cross-sectional descriptive study, 634 teachers were collected with self-reported questionnaires and assessment of voice disorders in one-year period with Voice Handicap Index Thai-version. The data were analyzed using descriptive statistics. An examination of relationship between the factors associated with voice disorders by using Chi-square test and Multiple logistic regression.
Result: The one-year prevalence of voice disorders among school teachers in Bangkok Metropolitan Administration was 62.6%. The associated factors of voice disorders in school teachers, included history of treatment of voice disorders, amount of drinking water per day, being well-educated regarding voice care, noise from surrounding residential areas, noise from the outside-classroom environment, school location, teaching only in kindergarten level and teaching only in high school level.
Discussion and Conclusion: More than a half of school teachers in Bangkok Metropolitan Administration had the voice disorders. The improvement of teaching patterns, working environment as well as the knowledge concerning voice care can lead to a prevention of voice disorders in teachers.
Key words: Voice disorder, Prevalence, Teacher
ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเสียงผิดปรกติในกลุ่มครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
อุษณีย์ จันทร์ตรี*, สรันยา เฮงพระพรหม**
* กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์
** ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
บทนำ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเสียงผิดปรกติในกลุ่มครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน ๖๓๔ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและประเมินภาวะเสียงผิดปรกติในช่วงระยะเวลา ๑ ปีการศึกษาด้วยแบบประเมิน Voice Handicap Index ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเสียงผิดปรกติกับปัจจัยต่างๆ ด้วยสถิติ Chi-square test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะเสียงผิดปรกติในกลุ่มครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในช่วงระยะเวลา ๑ ปีการศึกษาเท่ากับร้อยละ ๖๒.๖ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสียงผิดปรกติ ได้แก่ มีประวัติเคยเข้ารับการรักษาภาวะเสียงผิดปรกติปริมาณการดื่มน้ำต่อวัน ทำเลที่ตั้งโรงเรียนเสียงดังจากสิ่งแวดล้อมภายนอกรบกวนบริเวณที่อยู่อาศัยเสียงดังจากสิ่งแวดล้อมภายนอกรบกวนการสอน การมีความรู้มากเกี่ยวกับการใช้เสียงที่ถูกวิธีและการถนอมสายเสียง การสอนระดับชั้นอนุบาลเท่านั้น และการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมากกว่าครึ่งหนึ่งมีภาวะเสียงผิดปรกติ การปรับปรุงรูปแบบการสอนและสภาพแวดล้อมในห้องเรียน รวมถึงการให้ความรู้ในการใช้เสียงที่ถูกวิธีและการดูแลสายเสียง สามารถป้องกันการเกิดภาวะเสียงผิดปรกติในอาชีพครูได้
คำสำคัญ: ภาวะเสียงผิดปรกติ, ความชุก, ครู