Effects of breast self–examination acquistion program on knowledge, attitude and accuracy of practice of breast self–examination among female village health volunteers in Wangchan District, Rayong Province

Authors

  • Waraporn Wiriya-alongkorn
  • Kanittha Chamroonsawasdi
  • Weerasak Muangpaisan
  • Suebwong Chuthapisith

Keywords:

Breast self-examination, Knowledge, Attitude, Accuracy, การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, เจตคติต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ความถูกต้องของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

Abstract

Introduction: Breast cancer is an increasingly significant health problem for women all over the world. Moreover, most of the women lack of knowledge, understanding of breast cancer and how to correctly examine the breasts. This experimental research was carried out to evaluate the effects of a breast self-examination acquisition development program on female village health volunteers in Wangchan District, Rayong Province, using the concept of participatory learning in organizing the activities.

Method: Simple random sampling was used to obtain the studied population; 30 in the experimental group and 32 in the control group. The experimental group went through the program for 4 weeks whilst the control group received regular training from the district hospital. The tools used in collecting data were questionnaire and evaluation form on breast self-examination. The data was collected twice; once before the experiment and another 1 month after the experiment. Data analysis was carried out using paired t-test and independent t-test.

Result: The research found that after the experiment, the experimental group scored higher in knowledge and positive attitude of breast cancer and breast self-examination compared to before the experiment with statistical significance (p-value < 0.001). Furthermore, the experimental group also had higher degree of correction in breast self-examination than before the experiment and the control group with statistical significance (p-value < 0.001).

Discussion and Conclusion: The research found that skill development for breast self-examination program could be applied as a guideline for health promoting personnel and the training of village health volunteers (VHVs) to transfer to general publics and increase the accuracy of practice of breast self-examination among the training of village health volunteers.

Key words: Breast self-examination, Knowledge, Attitude, Accuracy


ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความรู้ เจตคติ และความถูกต้องในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
วราพร วิริยะอลงกรณ์*, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์**, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล***, สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์****
      * นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการระบาด) สาขาวิทยาการระบาด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    ** ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  *** ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
**** ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ให้ติดต่อ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔๒๐/๑ ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ (๐๒) ๓๕๔-๘๕๓๖ อีเมล kanittha.cha@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

บทนำ: มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของสตรีในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งนับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และยังพบว่าสตรีส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อประเมินผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในสตรีอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

วิธีการศึกษา: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเข้าสู่การทดลอง กลุ่มทดลอง จำนวน ๓๐ คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๒ คน โดยในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบรมตามปรกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความถูกต้องของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำการเก็บข้อมูล ก่อนการทดลองและหลังสิ้นสุดการทดลองแล้ว ๑ เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test และ independent t-test

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม เจตคติเชิงบวกต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีความถูกต้องของการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: โปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในด้านส่งเสริมสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขในการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 

คำสำคัญ: การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, เจตคติต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ความถูกต้องของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง


 

 

Author Biographies

Waraporn Wiriya-alongkorn

Master's Degree Candidate, Graduate Program in Science (Epidemiology) Major in Epidemiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital,
Mahidol University

Kanittha Chamroonsawasdi

Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University

Weerasak Muangpaisan

Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Suebwong Chuthapisith

Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Downloads

Published

2015-06-30

Issue

Section

Original Articles