Cost of acute wheezing in young children for hospitalization at Thammasat university hospital

Authors

  • Paskorn Sritipsukho Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University Center of Excellence in Applied Epidemiology, Thammasat University Hospital
  • Prapasri Kulalert Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Araya Satdhabudha Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Orapan Poachanukoon Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Thitinan Maitree Nursing Department, Thammasat University Hospital
  • Termsook Ruksrithong Nursing Department, Thammasat University Hospital
  • Pisit Traiyasut Information Technology Department, Thammasat University Hospital

Keywords:

Cost, Young children, Acute wheezing, Thammasat university hospital, ต้นทุน, เด็กเล็ก, ภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Abstract

Introduction: Wheezing is an important health problem in young children. Aim of this study was to estimate costs of wheezing in young children for hospitalization at Thammasat university hospital under societal, provider and patient’s perspectives.

Method: Ninety seven participants with the mean age of 29 months who were admitted with acute wheezing at Thammasat university hospital were included in this study. Data from hospital financial database and caregivers’ expenses were collected. Cost-to-charge ratio method was employed for valuation of direct medical costs. Informal care costs were determined by human capital approach.

Result: The means of societal, provider and patient’s costs per admission were 28,717 THB (SD = 17,852 THB), 23,411 THB (SD = 16,154 THB) and 6,167 THB (SD = 7,786 THB) respectively. According to the societal perspective, the cost of illness occurred during hospitalization (94.9%) and before admission (5.1%). The main cost component in societal and provider perspective was nursing care cost accounting for 30.2 percent and 33.3 percent respectively. Accommodation and meal at hospital were the second major cost.

Discussion and Conclusion: Nursing care cost, costs of accommodation and meal at hospital were major cost component of hospitalized children with acute wheezing in provider and societal perspective.

Key words: Cost, Young children, Acute wheezing, Thammasat university hospital

 

ต้นทุนความเจ็บป่วยการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข*,****, ประภาศรี กุลาเลิศ*, อารยา ศรัทธาพุทธ*, อรพรรณ โพชนุกูล*, ฐิตินันท์ ไมตรี**, เติมสุข รักษ์ศรีทอง**, พิสิษฐ์ ไตรยสุทธิ์***
* ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
** กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
*** งานสารสนเทศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
**** ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านระบาดวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดเป็นปัญหาที่สคัญของเด็กเล็ก วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อประเมินต้นทุนการเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลของเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
เฉลิมพระเกียรติ ในเด็กเล็กภายใต้มุมมองของสังคม สถานพยาบาลและผู้ป่วย

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยใน ๙๗ รายที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีอายุเฉลี่ย ๒๙ เดือน โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการเงินของโรงพยาบาลและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วย ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์จะถกู ประมาณค่าโดยอตั ราส่วนต้นทุนต่อมูลค่าเรียกเก็บของโรงพยาบาล ต้นทุนการดูแลอย่างไม่เป็นทางการของผู้ดูแลประมาณค่าด้วยวิธีแนวทางต้นทุนมนุษย์

ผลการศึกษา: ต้นทุนเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาลในมุมมองของสังคม สถานพยาบาล และผู้ป่วยเป็น ๒๘,๗๑๗ บาท (SD = ๑๗,๘๕๒ บาท), ๒๓,๔๑๑ บาท (SD = ๑๖,๑๕๔ บาท) และ ๖,๑๖๗ บาท (SD = ๗,๗๘๖ บาท) ตามลำดับ ร้อยละ ๙๔.๙ ของต้นทุนในมุมมองของสังคมเกิดขึ้นระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาล ร้อยละ ๕.๑ เกิดขึ้นก่อนการรักษาที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายด้านบริการพยาบาลเป็นต้นทุนสูงสุดทั้งในมุมมองสังคมและสถานพยาบาล คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๒ และ ๓๓.๓ ตามลำดับ รองลงมาคือต้นทุนค่าห้องและค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ค่าใช้จ่ายด้านบริการพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล เป็นต้นทุนที่สำคัญการเจ็บป่วยของเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในมุมมองสังคมและสถานพยาบาล

คำสำคัญ: ต้นทุน, เด็กเล็ก, ภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Downloads

Published

2016-12-29

Issue

Section

Original Articles