Prevalence of dyslipidemia and associated factors among medical personnel in Nopparat Rajchathani hospital

Authors

  • Orapun Theeratrakoolchai Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajchathani hospital
  • Aurapan Chaimanee Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajchathani hospital

Keywords:

Dyslipidemia, Medical personnel, Sedentary work, ไขมันในเลือดที่ผิดปรกติ, การนั่งทำงานเป็นส่วนใหญ่, บุคลากรทางการแพทย์

Abstract

Introduction: Objective of this study was to determine the prevalence of dyslipidemia and factors associated with dyslipidemia among medical personnel in Nopparat Rajchathani hospital.

Method: This cross-sectional descriptive study comprised 551 medical personnel aged 35 - 60 years who underwent an annual medical check-up in 2015. Personal and occupational data were collected by self-administered questionnaires. Dyslipidemia was identified based on serum total cholesterol, triglyceride,
low-density lipoprotein cholesterol (LDL) and high-density lipoprotein cholesterol (HDL) following ATP III classification. Binary logistic regression analysis was used to evaluate the associated factors for dyslipidemia.

Result: The prevalence of dyslipidemia among medical personnel in Nopparat Rajchathani hospital was 69.9% and 63% of medical personnel had hypercholesterolemia. Analysis of dyslipidemia showed significant positive correlation with age and smoking. However, there was no significant difference in hypercholesterolemia, hypertriglyceridemia, high-LDL cholesterolemia and low HDL cholesterol between sedentary medical personnel and non-sedentary medical personnel.

Discussion and Conclusion: The prevalence of dyslipidemia among medical personnel in Nopparat Rajchathani hospital was higher than normal population. Age and smoking were independent factors associated with dyslipidemia. It is likely that non-sedentary medical personnel do not have enough strenuous activity at work to improve dyslipidemia.

บทนำ: เพื่อหาความชุกของไขมันในเลือดที่ผิดปรกติและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับไขมันในเลือดที่ผิดปรกติในบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยใช้ข้อมูลจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ๒๕๕๘

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีที่มีอายุระหว่าง ๓๕ - ๖๐ ปี ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ๒๕๕๘ จำนวน ๕๕๑ คน วินิจฉัยระดับไขมันในเลือดผิดปรกติโดยใช้เกณฑ์ Adult Treatment Panel III (ATP III) ของ National Cholesterol Education Program (NCEP) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Binary logistic regression

ผลการศึกษา: ความชุกของระดับไขมันในเลือดที่ผิดปรกติในบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี ๒๕๕๘ เท่ากับร้อยละ ๖๙.๙ โดยพบระดับของโคเลสเตอรอลรวมผิดปรกติมากที่สุด ร้อยละ ๖๓ บุคลากรที่มีอายุมากขึ้นจะพบโคเลสเตอรอลรวมและแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลลดลง และพบการสูบบุหรี่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลโคเลสเตอรอล นอกจากนี้พบว่าบุคลากรที่ยืนหรือเดินทำงานเป็นส่วนใหญ่มีโคเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์แอลดีแอลโคเลสเตอรอลและเอชดีแอลโคเลสเตอรอลไม่แตกต่างจากผู้ที่นั่งทำงานเป็นส่วนใหญ่

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: และความชุกของไขมันในเลือดผิดปรกติในบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีสูงกว่าประชากรทั่วไป โดยพบว่าอายุมากขึ้น และการสูบบุหรี่ ส่งผลต่อความผิดปรกติของระดับไขมัน แต่การทำงานของบุคลากรที่ยืนหรือเดินเป็นส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด

Downloads

Published

2017-03-28

Issue

Section

Original Articles