Prevalence and associated risk factors of thumb pain from using smartphone in secondary school students at Khlongluang, Pathumthani Province

Authors

  • Santhanee KhruaKhorn Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Siriluck Kanchanomai Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Kamonwan Kaewlek Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Nisarat Jetjongjai Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Chulaluck Kumkong Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Nualchanok Nanon Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University

Keywords:

Smartphone, Thumb pain, Risk factors, Secondary school students, Prevalence, สมาร์ทโฟน, อาการปวดนิ้วหัวแม่มือ, ปัจจัยเสี่ยง, นักเรียนมัธยม, ความชุก

Abstract

Introduction: Nowadays, smartphone has been popular and widely used. Other studies revealed that the use of smartphone was associated with pain or fatigue of fingers. Therefore, aims of this study was to determine the prevalence and associated risk factor between thumb pain and smartphone usage in lower secondary school students at Khlongluang district, age 12 - 15 years.

Method: Analytic cross-sectional study was conducted. Participants were secondary school students aged 12 - 15 years in Khlongluang district. Data were collected by Google form, questionnaires were consisted of 4 parts; demographic data, smartphone characteristics, the thumb pain or discomfort and associated risk factors with smartphone usage. Data were collected between November - December 2015.

Result: Among 753 respondents, prevalence of thumb pain from using smartphone was 26.83%. Results from multiple logistic regression revealed that female (adjusted OR = 1.77 95%CI: 1.25 - 2.52) and pain at forearm (adjusted OR = 5.13, 95%CI: 2.60 - 10.11) were associated risk factor with thumb pain from using smartphone. Even though, play music as hobby was shown as a protective risk factor to thumb pain (adjusted OR = 0.43, 95%CI: 0.26 - 0.71).

Discussion and Conclusion:This study showed the prevalence of thumb pain from smartphone use was low. The most important risk factors were female which may explain by physiological differences of musculoskeletal systems between sexes. Moreover, pain at forearm led to thumb pain due to some muscles of thumb were attached at forearm. These finding should be applied in thumb pain prevention program in the future.


บทนำ: ปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย พบว่าการใช้สมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหรือเมื่อยล้าของนิ้วมือ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือกับการใช้สมาร์ทโฟน ในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ ๑๒ - ๑๕ ปี

วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ อาสาสมัครคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อายุ ๑๒ - ๑๕ ปี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกูเกิ้ลฟอร์ม ประกอบด้วย ๔ ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะของสมาร์ทโฟน การใช้งานสมาร์ทโฟนและอาการปวดบริเวณแขน มือและนิ้วมือ เก็บข้อมูลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

ผลการศึกษา: จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๗๕๓ คน มีความชุกของอาการปวดนิ้วหัวแม่มือจากการใช้สมาร์ทโฟน ร้อยละ ๒๖.๘๓ ผลจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติพหุถดถอย พบว่า เพศหญิง (adjusted OR = ๑.๗๗, 95%CI: ๑.๒๕ - ๒.๕๒) และอาการปวดบริเวณแขนท่อนล่าง (adjusted OR = ๕.๑๓, 95%CI: ๒.๖๐ - ๑๐.๑๑) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผล ต่ออาการปวดนิ้วหัวแม่มือจากการใช้สมาร์ทโฟน ในขณะที่การทำงานอดิเรกด้วยการเล่นดนตรี เป็นปัจจัยป้องกันอาการปวดนิ้วหัวแม่มือจากการใช้สมาร์ทโฟน (adjusted OR = ๐.๔๓, 95%CI: ๐.๒๖ - ๐.๗๑)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ทำให้ทราบความชุกของอาการปวดนิ้วหัวแม่มือจากการใช้สมาร์ทโฟนอยู่ในระดับต่ำ โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ เพศหญิง ซึ่งอธิบายด้วยเหตุผลทางสรีรวิทยาที่เพศหญิงมีโครงสร้างทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่แตกต่างจากเพศชาย นอกจากนี้อาการปวดแขนท่อนล่างมีความสัมพันธ์กับอาการปวดนิ้วหัวแม่มือ ทั้งนี้อาจเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือบางส่วนมีจุดเกาะอยู่บริเวณแขนท่อนล่าง โดยความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มืออันเนื่องมาจากการใช้สมาร์ทโฟนได้ในอนาคต

Downloads

Published

2017-03-28

Issue

Section

Original Articles