Knowledge, awareness and practice of radiographer to reduce radiation exposure in small and medium sized community hospitals
Keywords:
Knowledge, Awareness, Practice, Radiation exposure, ความรู้, ความตระหนัก, การปฏิบัติ, การได้รับรังสีAbstract
Introduction: This study aimed to find out knowledge, awareness and practice score to reduce radiation exposure among radiographers in small and medium sized community hospitals.
Method: The study design was a cross-sectional descriptive survey. The survey was conducted during August and December, 2015. Six hundred and thirteen radiographers working in community hospitals were included in this study.
Result: Mean knowledge score was 68.94%. Mean awareness score was 92.33%. Female workers had significant higher knowledge score than males (p < 0.001). Female workers had significant higher awareness score than males (p = 0.006). The rate of wearing lead apron was 97.6%. The rate of wearing protective eyeglasses and gloves was 45.4% and 50.6%, respectively. Mean of practice score was 79.17%. The mean of practice scores were not significant difference across all factors.
Discussion and Conclusion: Regular training course on radiation protection for radiographers should be provided to improve safety at work.
บทนำ: เพื่อศึกษาระดับของความรู้ ความตระหนักและการปฏิบัติตนเพื่อลดการได้รับรังสีจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงานถ่ายภาพเอกซเรย์ในโรงพยาบาลชุมชน
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่งเพื่อการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานถ่ายภาพเอกซเรย์ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็กที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ๖๑๓ โรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ผลการศึกษา: ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยความรู้เท่ากับ ๖๘.๙๔ อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยความตระหนักเท่ากับ ๙๒.๓๓ อยู่ในระดับสงู คะแนนเฉลี่ยความรู้ของเพศหญิงสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑) เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = ๐.๐๐๖) เสื้อตะกั่วมีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ ๙๗.๖ แว่นตาป้องกันรังสีและถุงมือป้องกันรังสีมีการใช้เพียงร้อยละ ๔๕.๔ และ ๕๐.๖ ตามลำดับ ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติเท่ากับ ๗๙.๑๗ อยู่ในระดับพอใช้ คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกปัจจัย
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ผู้ปฏิบัติงานถ่ายภาพเอกซเรย์ควรได้รับการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุด