A survey of occupational medicine services in occupational medicine clinics in Eastern hospitals of Thailand 2014

Authors

  • Vachara-arthorn Dulyasathit Occupational Medicine Center, Samitivej Sriracha Hospital
  • Wiwat Ekburanawat Occupational Medicine Center, Samitivej Sriracha Hospital
  • Porntiwa Yalasub Occupational Medicine Center, Samitivej Sriracha Hospital
  • Rattana Thongsri Occupational Medicine Department, Rayong Hospital
  • Panida Chuenchuam Occupational Medicine Department, Chonburi Hospital

Keywords:

Occupational medicine, Occupational medicine service, Occupational medicine in Eastern, Pre-employment examination, Periodic examination, Occupational disease diagnosis, Disability evaluation, อาชีวเวชศาสตร์, บริการด้านอาชีวเวชศาสตร์

Abstract

Introduction: The objective of this study was to survey for clinical services in occupational medicine clinics in Eastern hospitals 2014.

Method: A cross-sectional survey was performed and data were collected during 20th September - 20th October 2015 using self-administered questionnaires sent by email to all occupational medicine clinics in Eastern part of Thailand that had occupational physicians.

Result: There were six occupational medicine clinics from all eleven clinics that allowed to give the data. The numbers of services in each month were not much different in government hospital clinics but higher in the second half of the year for private hospital. When classified by type of service, pre-employment examinations were the most service in five clinics (43.3% - 75.3%), followed by periodic examinations (5.9% - 41.7%). The occupational disease diagnosis were done not so much (0.2% - 10.9%). The procedures most done were audiometry in three clinics (40.9%, 32.3% and 7.3% respectively) and spirometry in three clinics (57.0%, 42.3% and 33.0% respectively). Biological markers examinations were done lowest in most clinics (0.2% - 33.8%).

Discussion and Conclusion: Mainly type of services in occupational medicine clinics in Eastern hospitals were pre-employment examination and periodic examination. About occupational disease diagnosis which still has a small amount should be promoted and publicized more. Procedures which done most were spirometry and audiometry. Service providers should have to prepare both the equipment and the personnel.


บทนำ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะการเข้ารับบริการด้านอาชีวเวชศาสตร์ของคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลภาคตะวันออก ปี พ.ศ. ๒๕๕๗

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey study) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองส่งทางอีเมลให้แก่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลภาคตะวันออกทุกแห่งที่มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ปฏิบัติงานอยู่ ทำการเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างวันที่ ๒๐ กันยายน - ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘


ผลการศึกษา: คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ที่ยินยอมให้ข้อมูลมีจำนวน ๖ แห่งจากทั้งหมด ๑๑ แห่ง มีจำนวนผู้เข้ารับบริการ ๑,๐๘๕ - ๑๓,๗๑๘ คน เฉลี่ยในแต่ละเดือนไม่มีความแตกต่างกันมากนักในโรงพยาบาลของรัฐ แต่ในโรงพยาบาลเอกชนพบว่ามีผู้เข้ารับบริการมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เมื่อจำแนกตามชนิดของการเข้ารับบริการพบว่ามีจำนวนโรงพยาบาลถึง ๕ ใน ๖ แห่งที่มีผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเป็นจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ ๔๓.๓ - ๗๕.๓ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด) รองลงมาเป็นการตรวจสุขภาพประจำปี (ร้อยละ ๕.๙ - ๔๑.๗ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด) ในด้านการวินิจฉัยโรคจากการทำงานยังมีผู้เข้ารับบริการไม่มากนัก (ร้อยละ ๐.๒ - ๑๐.๙ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด) จำนวนการทำหัตถการด้านอาชีวอนามัยพบว่า มีการตรวจสมรรถภาพการได้ยินมากที่สุดเทียบกับการทำหัตถการอื่นๆ ใน ๓ โรงพยาบาล (ร้อยละ ๔๐.๙, ๓๒.๓ และ ๗.๓ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมดตามลำดับ) และมีการตรวจสมรรถภาพปอดมากที่สุดใน ๓ โรงพยาบาล (ร้อยละ ๕๗.๐, ๔๒.๓ และ ๓๓.๐ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมดตามลำดับ) การตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพมีการตรวจน้อยที่สุดในเกือบทุกโรงพยาบาล (ร้อยละ ๐.๒ - ๓๓.๘ ของจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: การเข้ารับบริการในคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในภาคตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน และการตรวจสุขภาพประจำปี ในส่วนของการเข้ารับการวินิจฉัยโรคจากการทำงานยังมีจำนวนน้อย ควรมีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น หัตถการที่ทำมากได้แก่ การตรวจสมรรถภาพการได้ยินและการตรวจสมรรถภาพปอด ผู้ให้บริการควรเตรียมความพร้อมทั้งในด้านอุปกรณ์และบุคลากรในการตรวจ

Downloads

Published

2016-09-30

Issue

Section

Original Articles