Effects of rice bran oil on lipid accumulations on 3T3-L1 cells
Keywords:
3T3-L1 cells, Rice bran oil, Oleic acid, Palmitic acid, เซลล์ไขมัน ชนิด 3T3-L1, น้ำมันรำข้าว, กรดโอเลอิก, กรดปาล์มมิติกAbstract
Introduction: Rice bran oil (RO) reduced hyperlipidaemia, oleic acid is a major fatty acid of RO. However, the direct effects of RO in 3T3-L1 adipocyte have not been previously investigated. Thus, the aim of this study investigated the direct effects of RO and oleic acid (OA) on lipid accumulation in vitro on 3T3-L1 cells.
Method: Cells were treated with different concentrations of RO, OA and palmitic (PA). After incubation, the cells were determined cells viability by MTS assay, the lipid accumulation by oil red O staining assay and cell size by microscope.
Result: In this study, on cytotoxicity results demonstrated that RO, OA treatments showed no toxicity. However, PA at 60 and 80 μg/mL of PA treatments were found to be toxic on 3T3-L1 cells. Moreover, RO and OA treatments were found to inhibit lipid accumulation for mature adipocyte. At 60 μg/mL PA incubation, the lipid accumulation increased. Adipocyte size was significantly reduced in RO and OA, however palmitic acid had no effect to increase cell size.
Discussion and Conclusion: RO treatments were found to inhibit lipid accumulation and reduced adipocyte size. Rice bran oil has no effect on the viability of cell which probably oleic acid is the importanct active ingredient. These properties, may be used to prevent anti-obesity.
บทนำ: น้ำมันรำข้าวสามารถลดภาวะความผิดปรกติของไขมันในเลือดได้ โดยมีกรดไขมันโอเลอิกเป็นส่วนประกอบหลักแต่อย่างไรก็ตามยังไม่ได้รับการศึกษาในเซลล์ไขมันมากนักดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลของน้ำมันรำข้าวและกรดไขมันโอเลอิกต่อการสะสมไขมันในเซลล์ไขมันชนิด 3T3-L1
วิธีการศึกษา: การให้น้ำมันรำข้าว กรดไขมันโอเลอิกและกรดไขมันปาล์มมิติกที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ในช่วงที่เซลล์มีการเหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ไขมันเต็มตัว จากนั้นทำการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธี MTS วัดปริมาณไขมันสะสมภายในเซลล์โดยการย้อมเซลล์ด้วย oil red O และวัดขนาดเซลล์ไขมันภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ผลการศึกษา: พบว่าน้ำมันรำข้าว กรดไขมันโอเลอิกและกรดไขมันปาล์มมิติก ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันชนิด 3T3-L1 แต่กรดไขมันปาล์มมิติกที่ความเข้มข้น ๘๐ และ ๑๐๐ ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีพิษต่อเซลล์ไขมัน นอกจากนี้พบว่าน้ำมันรำข้าวและกรดไขมันโอเลอิก มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสะสมเซลล์ไขมันในช่วงเป็นเซลล์ไขมันเต็มตัวแล้ว แต่กรดไขมันปาล์มมิติก (๖๐ ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้น และพบว่าน้ำมันรำข้าวและกรดไขมันโอเลอิกช่วยลดขนาดเซลล์ไขมันในช่วงที่เป็นเซลล์ไขมันเต็มตัวแล้ว แต่กรดไขมันปาล์มมิติกไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: น้ำมันรำข้าวมีฤทธิ์ช่วยลดการสะสมไขมันและขนาดของเซลล์ไขมัน โดยที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งคาดว่ากรดไขมันโอเลอิกเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในน้ำมันรำข้าว ผลการศึกษานี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคอ้วนได้