Attitude on gender roles and life skills development program to prevent sexual risk behaviors among grade 5 primary school male students, Lopburi province

Authors

  • Supawadee Woramalee Student, Master Science (Public Health), Mahidol University
  • Kanittha Chamroonsawasdi Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University
  • Wirin Kittipichai Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University
  • Naruemon Auemaneekul Department of Public Health Nursing, Faculty of Public Health, Mahidol University

Keywords:

Gender roles, Life skills, Prevention of sexual risk behaviors, Grade 5 male students, บทบาททางเพศ, ทักษะชีวิต, การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

Abstract

Introduction: This study was a quasi-experimental research that aimed at studying the effects of attitude towards a gender roles and life skills’ development program on the prevention of sexual risk behaviors among grade 5 male students in Lopburi province, by applying the concepts of gender roles and life skills in form of a participatory learning process.

Method: Participants were grade 5 male students (aged 10 - 11 years) studying in the first semester of academic year 2015 in the schools with similar environmental and socioeconomic contexts. The experimental group consisted of 35 male students that participated in the four activities of attitude toward the gender roles and life skills’ development program to prevent sexual risk behaviors. The comparison group comprised of 35 male students that attended regular classes as usual. Data were collected through self-administered questionnaire; and analyzed by percentage, mean, standard deviation, independent t-test and paired t-test.

Result: After the experiment, the mean scores of knowledge; attitude toward gender roles; critical-thinking, decision-making and problem-solving skills; communication /interpersonal skills and refusal/negotiation skills to abstain from sexual risk behaviors of experimental group were significantly higher than the mean scores of comparison group (p < 0.001). And after the experiment, the mean scores of knowledge; attitude toward gender roles; critical-thinking, decision-making and problem-solving skills; communication/ interpersonal skills and refusal/negotiation skills to abstain from sexual risk behaviors of experimental group were significantly higher than the mean scores before the experiment (p < 0.001).

Discussion and Conclusion: This program should be incorporated into the teaching of sex education in schools through the use of participatory learning process. Other agencies can also use the information to make a health development plan for adolescents.


บทนำ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาเจตคติต่อบทบาททางเพศ และทักษะชีวิตต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จังหวัดลพบุรี ใช้แนวคิดบทบาททางเพศและทักษะชีวิตในกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ อายุ ๑๐ - ๑๑ ปี ในโรงเรียนที่มีลักษณะทั่วไปของสภาพแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจใกล้เคียงกันกลุ่มทดลอง จำนวน ๓๕ คนได้รับโปรแกรมพัฒนาเจตคติต่อบทบาททางเพศ และทักษะชีวิตต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ จำนวน ๔ ครั้ง และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน ๓๕ คนได้รับการเรียนการสอนตามปกติการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, independent t-test และ paired t-test

ผลการศึกษา: พบว่าหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ฯ เจตคติต่อบทบาททางเพศ ทักษะการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพ การปฏิเสธและต่อรองที่จะไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑) และหลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ฯ เจตคติต่อบทบาททางเพศ ทักษะการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพ การปฏิเสธและต่อรองที่จะไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: โปรแกรมพัฒนาเจตคติต่อบทบาททางเพศ และทักษะชีวิตต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จังหวัดลพบุรี ที่นำแนวคิดบทบาททางเพศ และทักษะชีวิตมาปรับใช้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในนักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้ผลดีกว่าการเรียนการสอนปกติของโรงเรียน

Downloads

Published

2016-09-30

Issue

Section

Original Articles