Self-assessment of pre-clinical undergraduate medical student competencies in the application of the undergraduate framework learning standard and appraisal competency for basic education students and medical graduate’s outcome

Authors

  • Wachiraporn Krudprathum Educational Service Office, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Worapon Wilaem Educational Service Office, Faculty of Medicine, Thammasat University

Keywords:

ประเมินความสามารถ, หลักสูตรบูรณาการ, กรอบมาตรฐานการเรียนรู้, สมรรถนะสำคัญ, คุณลักษณะบัณฑิตแพทย์อันพึงประสงค์

Abstract

Introduction:  The purposes of this research were: 1. to self-assess of preclinical medical students in their opinions. 2. to compare the differences among gender, year class, and the students from the Consortium of Thai Medical Schools, the Collaborative Project Increase Production of Rural Doctor (CIPIRD) and the One District One Doctor (ODOD).

Method: Descriptive research the sample populations were 255 students from 2 - 3 year students of faculty of Medicine, Thammasat University Rangsit campus. The independent variable was the ability of preclinical medical students and dependent variables were CIPIRD and ODOD students. The data were analyzed by using SPSS for Window V 13.5.

Result: The results showed self ability assessment of students on six aspects were the ability to communicate, thinking, problems solving, life skills, knowledge and ethics. The overall abilities were at high level. And comparison of the differences in self ability assessment among the students from the Consortium of Thai Medical Schools (COTMES), the Collaborative Project Increase Production of Rural Doctor (CIPIRD) and the One District One Doctor (ODOD) were not statistically different.

Discussion and Conclusion:Self assessment score in knowledge ability was less than all aspects. Therefore focusing on the process of learning about the content knowledge in application or correlation to the new content and the applied technology would be effectively reasonable learning.

 

บทนำ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ประเมินความสามารถตนเองของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิกตามทัศนะของนักศึกษาแพทย์ ๒. เปรียบเทียบความแตกต่างการประเมินความสามารถตนเองระหว่าง เพศ ชั้นปีที่ศึกษาและประเภทของโครงการรับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบทและโครงการแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยกลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีทีี่ ๒ และ ๓ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๕๕ คน ตัวแปรที่ใช้ศึกษาตัวแปรตาม คือ ความสามารถของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิก ตัวแปรอิสระคือ โครงการที่รับเข้าศึกษา ได้แก่ โครงการรับผ่านกลุ่มสถาบันแพทย์ โครงการผลิตแพทย์ชนบท และโครงการแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Window V 13.5 ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา:การประเมินความสามารถของตนเองของนักศึกษาทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านการสื่อสาร ความสามารถด้านความคิด ความสามารถด้านการแก้ปัญหา ความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถด้านความรู้ ความสามารถด้านคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก และเปรียบเทียบความแตกต่างการประเมินความสามารถของตนเองระหว่างประเภทของโครงการรับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบทและโครงการแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: นักศึกษาประเมินความสามารถด้านความรู้ของตนเองมีคะแนนน้อยกว่าทุกด้าน ดังนั้นควรให้ความสำคัญเรื่อง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการนำเนื้อหาความรู้เดิมไปประยุกต์หรือเชื่อมโยงใช้กับเนื้อหาใหม่และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม

Downloads

Published

2016-09-30

Issue

Section

Original Articles