The relationship between Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) and pedometer among overweight young adults
Keywords:
Global Physical Activity Questionnaire, Physical activity, Walking steps daily, Overweight, Pedometer, แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย, กิจกรรมทางกาย, จำนวนก้าวเดิน, ภาวะน้ำหนักเกิน, เครื่องนับก้าวเดินAbstract
Introduction: The aim of the present study was to determine the relationship between physical activities measured by using Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) and pedometer among overweight young adults.
Method: Thirty-three volunteers with average age of 20.20 ± 1.35 years were asked to record their walking steps a day by using pedometer (Yamax pedometer: SW-200) for 7 days and an average number of walking steps was calculated. In addition, the self-administrated Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) was performed and it was divided into three groups; low, moderate and high physical activity.
Result: A cross-sectional study was designed and found that no relationship between physical activity scores and walking steps per day (r = 0.21, p = 0.24). Further, when physical activity scores were divided into three groups, it was found that 27.27% of participants had a low physical activity, 54.55% of participants had a moderate physical activity and only 18.18% of participants had a high physical activity.
Discussion and Conclusion: The association between self-administrated GPAQ and walking steps daily by pedometer was not observed in overweight young adults. Therefore, physical activities measured by self-report physical activity (i.e., questionnaire) may lead to incorrect physical activity measure. Thus, researchers should consider regarding the selecting measures of physical activity.
บทนำ: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายโดยใช้แบบสอบถาม (Global Physical Activity Questionnaire: GPAQ) กับจำนวนก้าวเดิน ในกลุ่มวัยรุ่นสุขภาพดี ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
วิธีการศึกษา: อาสาสมัครจำนวน ๓๓ คน อายุเฉลี่ย ๒๐.๒๐ ± ๑.๓๕ ปี ทำการบันทึกจำนวนก้าวเดินโดยใช้เครื่องนับก้าวเดิน (Yamax pedometer) รุ่น SW-200 เป็นเวลา ๗ วัน และทำแบบสอบถามเพื่อวัดกิจกรรมทางกาย (GPAQ) และแบ่งระดับกิจกรรมทางกายออกเป็น ๓ ระดับคือ ระดับน้อย ระดับปานกลาง และระดับสูง ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับจำนวนก้าวเดินที่ได้จากการใช้เครื่องนับก้าวเดิน
ผลการศึกษา: จากการศึกษาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งพบว่าไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับจำนวนก้าวเดิน (r = ๐.๒๑, p = ๐.๒๔) นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ ๒๗.๒๗ มีกิจกรรมทางกายน้อย ร้อยละ ๕๔.๕๕ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง และร้อยละ ๑๘.๑๘ มีกิจกรรมระดับมาก
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: การใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับกิจกรรมทางกายกับการใช้เครื่องนับจำนวนก้าวเดินไม่มีความสัมพันธ์กันในกลุ่มวัยรุ่นที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ดังนั้น การวัดกิจกรรมทางกาย โดยใช้การวัดแบบเชิงอัตวิสัย เช่น การตอบแบบสอบถาม อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการวัดกิจกรรมทางกาย ดังนั้น ผู้วิจัยควรจะต้องพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือวัดกิจกรรมทางกาย