The immediate effects of costal breathing exercise with sustained maximal inspiration technique and flow incentive spirometer on chest expansion in sedentary young adults
Keywords:
การขยายตัวของทรวงอก, Incentive spirometer, Costal breathing exercise, Sustained maximal inspirationAbstract
Introduction: Breathing exercise (BE) is one of physical therapy techniques to improve and prevent lung atelectasis which is costal BE with sustained maximal inspiration (SMI) technique and flow incentive spirometer (IS). Although these techniques are similar, the price of the flow IS device is relatively high; whereas costal BE with SMI is a conservative BE. Therefore, this study aimed to investigate immediate effects of costal BE with SMI and flow IS on chest expansion.
Method: Twenty-five participants aged 18 -25 years were participated in the study. A set of training program whose order was randomized; costal BE with SMI and flow IS (Triflow®). For costal BE with SMI technique, participants were asked to breathe in deeply, maximally and hold for 3 seconds, 10 times/part and rest between parts for 5 minutes, totally 30 deep breaths. For flow IS, participants were asked to breathe in deeply, maximally and hold the balls for 3 seconds, 10 times/set, 3 sets and rest between sets for 5 minutes, totally 30 deep breaths. Chest expansion was measured before and after training programs at three parts; axilla, xiphoid process and 10th rib.
Result: Chest expansions at upper and lower parts of the lungs were significantly increased by using flow IS (+0.42 cm. and 0.68 cm., respectively). Further, increasing at lower part of the lungs was also found after training by costal BE with SMI (+0.56 cm.). However, chest expansion was not significantly difference in both the costal BE with SMI and flow IS techniques.
Discussion and Conclusion: There was a increase in chest expansion by costal BE with SMI or flow IS technique at lower part of the lungs. Therefore, costal BE with SMI is an alternatively technique for improving chest expansion in particular lower part of the lungs.
บทนำ: การฝึกหายใจเพื่อป้องกันและฟื้นฟูภาวะปอดแฟบในทางกายภาพบíำบัดมีทั้งการฝึกโดย Costal breathing exercise (costal BE) ร่วมกับ Sustained maximal inspiration technique (SMI) และ ใช้เครื่อง Flow incentive spirometer (flow IS) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันแต่การฝึกโดยใช้เครื่อง flow IS จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ขณะที่การฝึก costal BE ร่วมกับ SMI ไม่เสียค่าใช้จ่าย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของการฝึกด้วย costal BE ร่วมกับ SMI และ flow IS ต่อการขยายตัวของทรวงอก
วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัย ๒๕ คน (๑๘ - ๒๕ ปี) สุ่มเลือกลำดับการฝึก costal BE ร่วมกับ SMI และ flow IS (Triflow®) โดยการฝึก costal BE ร่วมกับ SMI ผู้เข้าร่วมวิจัยทำการหายใจเข้าลึกเต็มที่ค้างไว้ ๓ วินาที จำนวน ๑๐ ครั้งต่อระดับ พักระหว่างระดับ ๕ นาที รวมทั้งหมด ๓๐ ครั้ง และการฝึก flow IS ผู้เข้าร่วมวิจัยทำการหายใจเข้าลึกเต็มที่ให้ลูกบอลค้างไว้ ๓ วินาที ทำ จำนวน ๑๐ ครั้ง/รอบ จำนวน ๓ รอบ พักระหว่างรอบ ๕ นาที รวมทั้งหมด ๓๐ ครั้ง ทำการวัดการขยายตัวของทรวงอกที่ระดับใต้รักแร้ ลิ้นปี่ และซี่โครงระดับ ๑๐ ตามลำดับทั้งก่อนและหลังการฝึกแต่ละชนิด
ผลการศึกษา: ค่าการขยายตัวของทรวงอกภายหลังการฝึกด้วย flow IS มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่บริเวณปอดส่วนบนและส่วนล่าง (+๐.๔๒ เซนติเมตรและ ๐.๖๘ เซนติเมตร ตามลำดับ) และภายหลังการฝึก costal BE ร่วมกับ SMI พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติบริเวณปอดส่วนล่างเมื่อเทียบกับก่อนฝึก (+๐.๕๖ เซนติเมตร) อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบการขยายตัวของทรวงอกภายหลังการฝึกระหว่างการฝึกทั้งสองชนิด
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: การฝึก costal BE ร่วมกับ SMI และ การฝึกด้วยเครื่อง flow IS สามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกบริเวณปอดส่วนล่างได้เช่นกัน ดังนั้นการฝึก costal BE ร่วมกับ SMI จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกโดยเฉพาะในส่วนของปอดด้านล่าง