Blood pressure control in hypertensive patients with uncontrolled blood pressure after participating in a health behavior modification program at Makha subdistrict health promoting hospital, Non Sung district, Nakhon Ratchasima province

Authors

  • Kanpechaya Netpisitkul Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office

Keywords:

Hypertension, Blood pressure control, Health behavior modification, โรคความดันโลหิตสูง, การควบคุมความดันโลหิต, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

Abstract

Introduction:  At present, hypertension is considered a major health problem. Patients with hypertension are three times more susceptible to coronary artery disease and seven times more susceptible to stroke compared to normal healthy people. As hypertension is an important factor leading to stroke, a guideline on how to control blood pressure in patients with hypertension needs to be devised.

Method: This was quasi-experimental research which aimed to compare health behaviors, waist circumferences, body mass index and blood pressure in hypertensive patients with uncontrolled blood pressure after participating in a health behavior modification program for 6 months. The study samples were hypertensive patients with uncontrolled blood pressure. Purposive sampling was used to allocate the samples; 42 hypertensive patients uncontrolled blood pressure at level 1 (140/90 - 159/99 mmHg.). They participated in a health behavior modification activities; dissemination of knowledge, practical training, participation in a self-help group 6 times, home visits 22 weeks (once a week). The instruments used in the study included the focus group discussion protocol, interview form and the health status assessment form. Data were analyzed by mean percentage, standard deviation and paired t-test. Content analysis was performed to analyze the focus group discussion data.

Result: After participating in the health behavioral modification activities, the subjects had more appropriate health behaviors (food consumption, exercise, emotional control, and rest). They drank alcohol and smoked less. However, when comparing the means of body mass index and waist circumferences before and after participation in the activities, it was found that there were no significant differences. Moreover, more subjects had their blood pressure levels within the normal range (92.9%), and a comparison of mean systolic blood pressure and diastolic blood pressure showed that both reduced with statistical significance (p < 0.001).

Discussion and Conclusion: This study showed that the health behavior modification activities by patients participated in problem solving enabled hypertensive patients to have appropriate health behaviors and control their blood pressure.

บทนำ: ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มากกว่าคนปรกติ ๓ เท่า และมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปรกติถึง ๗ เท่า ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันและแตกได้ จึงควรหาแนวทางในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ รอบเอว ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๖ เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับ ๑ (ความดันโลหิต ๑๔๐/๙๐ - ๑๕๙/๙๙ มิลลิเมตรปรอท) จำนวน ๔๒ คน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ ๑ ครั้ง กิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ๖ ครั้ง กิจกรรมเยี่ยมบ้าน ๒๒ สัปดาห์สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินสภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ pair t-test ข้อมูลการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา: หลังดำเนินกิจกรรมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น (การรับประทานอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรอบเอว ดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมพบว่า ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างมีความดันโลหิตอยู่ในระดับปรกติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ ๙๒.๙) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความดันซิสโตลิกและความดันไดแอสโตลิกก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมพบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้นและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้

Downloads

Published

2016-06-30

Issue

Section

Original Articles