The alteration of immune cells in elderly

Authors

  • Amonrat Jumnainsong Division of clinical immunology and blood transfusion medicine, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University The Centre for Research and Development of Medical Diagnostic Laboratories, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University
  • Prasert Saichua Preclinical Science Department (Parasitology), Faculty of Medicine, Thammasat University

Keywords:

White blood cell, Immunosenescence, Elderly, เซลล์เม็ดเลือดขาว, การเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกัน, ผู้สูงอายุ

Abstract

   The information from National Statistic Office showed that Thailand has been in aging society since 2007 and will be completely aged society within 3-5 years (around A.D. 2019). The main characteristic of elderly is senescence including healthy. This leads to a lot of money that has to pay for medical care in elderly. One of the reasons for unhealthy in elderly is the immunosenescence. There were many publications showed that the immune system in elderly has been changed leading to susceptible infection, unresponse to vaccine, and prone to cancer and autoimmune disease. This report demonstrated the alteration of immune cells in elderly and the activities or strategies which can improve the immune function in elderly. This may decrease the problems of healthy in elderly and be useful for completely aged society of our country in the future.

    สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการสำรวจและสรุปว่าขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และคาดการณ์กันว่าในอีก ๓ - ๕ ปีข้างหน้า (ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๒) ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความสามารถในการทำงานหารายได้ลดลงและยังเป็นวัยที่มีสุขภาพเสื่อมถอย เกิดโรคภัยต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่ต้องใช้การรักษาพยาบาลต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลต้องจ่ายค่าสวัสดิการในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงนั้น เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักมีการติดเชื้อจุลชีพได้ง่าย การตอบสนองต่อวัคซีนต่างๆ ก็มีประสิทธิภาพลดลง รวมไปถึงการเกิดมะเร็งและภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองเพิ่มขึ้น บทความนี้จึงได้รวบรวมการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุทั้งในระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดและภูมิคุ้มกันที่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง รวมไปถึงวิธีการและกิจกรรมที่ช่วย ส่งเสริมให้เซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

Downloads

Published

2016-06-30

Issue

Section

Review Articles