Risk factors associated with low back pain among longan pickers in Ban Numdibnoi, Pa Sang district, Lamphun province

Authors

  • Suchittra Chompan Undergraduate student, Occupational Health and Safety Program, Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Wirot Chanthorn Department of Environmental and Occupational Health, Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Sarunya Thiphom Department of Environmental and Occupational Health, Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Jutarat Rakprasit Department of Environmental and Occupational Health, Faculty of Public Health, Naresuan University

Keywords:

ปัจจัยเสี่ยง, อาการปวดหลังส่วนล่าง, คนงานนั่งเก็บลำไย, Risk factors, Low back pain, Longan pickers

Abstract

Introduction: The process of longan collecting, longan picker has to work long hours sitting. The working postures are repetitive work, reaching, twisting, and bending back all the times during working. Longan pickers work with low chairs, chairs without backrest, and sit on hard surfaces lead to low back pain.

Method: This research was a cross-sectional descriptive study to investigate the personal risk factors, working environment and social psychology associated with low back pain among longan pickers with sitting at work in Ban Numdibnoi, Pa Sang district, Lamphun province. Data were collected from 230 longan pickers using self-administered questionnaires.

Result: Longan pickers were female (100.0%). Aged 50-59 years was 46.1%. Most of job experience more than 15 years was 60.0%. Factors associated with low back pain were age, job experience, average working hours, working posture, chair lack backrest, sitting on hard surfaces and work under pressure which were statistically significant.

Discussion and Conclusion: Low back pain was a major health problem that should not be ignored. The associated factors in this study can be applied to improve working posture, and working environment according to ergonomics in order to protect health effects on physical and mental health.

 

บทนำ: กระบวนการเก็บลำไยคนงานต้องนั่งทำงานตลอดเวลา โดยมีท่าทางการทำงานแบบซ้ำ การเอื้อมหยิบ การบิดและการก้มหลังตลอดระยะเวลาในการท????ำงาน มีการใช้เก้าอี้แบบเตี้ย ๆ ไม่มีพนักพิง และมีพื้นผิวสำหรับรองนั่งที่แข็ง จึงส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านปัจจัยส่วนบุคคลสภาพแวดล้อมการทำงาน และจิตวิทยาสังคมที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในคนงานนั่งเก็บลำไย ในบ้านน้ำดิบน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน ๒๓๐ คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

ผลการศึกษา: คนงานนั่งเก็บลำไย เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๑๐๐.๐ อายุกลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วง ๕๐ - ๕๙ ปี ร้อยละ ๔๖.๑ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงาน ๑๕ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๖๐.๐ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่ อายุ ประสบการณ์การทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย ท่าทางการทำงาน เก้าอี้ไม่มีพนักพิง พื้นผิวรองนั่งเก้าอี้แข็ง และความรู้สึกกดดันขณะทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาทางสุขภาพสำคัญที่ไม่ควรละเลย โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางการทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานให้ถูกหลักการยศาสตร์เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจต่อไป

Downloads

Published

2017-06-13

Issue

Section

Original Articles