Vitamin D insufficiency in young hospitalized children with acute wheezing in Thammasat university hospital
Keywords:
Vitamin D deficiency, Vitamin D insufficiency, Acute wheezing, Child, การขาดวิตามินดี, ภาวะระดับวิตามินดีต่ำ, หอบเฉียบพลัน, เด็กAbstract
Introduction: Vitamin D plays an important role to control immune system. Vitamin D deficiency is related to the risk of infection and asthma development in pediatric patients. Vitamin D deficiency/ insufficiency in preschool-aged children with acute wheezing in Thailand has not been reported. Objective was to study the prevalence of vitamin D insufficiency in preschool aged children with acute wheezing.
Method: This cross-sectional study enrolled preschool-aged patients with acute wheezing in pediatric wards of Thammasat university hospital between September 2013 and October 2014. Patients’ clinical data were recorded and their serum samplings were measured for 25-hydroxy vitamin D level by enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) method.
Result: There were 100 preschool-aged patients with acute wheezing in the study. Boys were accounted for 36.1 percent. The most common age group was 1 - 3 year old (48.6 percent). There were 43.4 percent of patients presenting with first wheeze. There were 4.8 percent and 28.9 percent of patients having vitamin D deficiency and vitamin D insufficiency respectively. No association was found between vitamin D insufficiency and gender, parental asthma, daycare, smoking, and recurrent wheezing.
Discusion and Conclusion: Vitamin D insufficiency was common among preschool-aged children who were admitted in Thammasat university hospital with acute wheezing. No statistical significant factor was found associated with vitamin D insufficiency.
บทนำ: วิตามินดีมีความสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญของร่างกาย การขาดวิตามินดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเป็นโรคหืดในวัยเด็กได้ ที่ผ่านมาการศึกษาระดับวิตามินดีที่สัมพันธ์กับภาวะหอบเฉียบพลันในเด็กเล็กในประเทศไทยยังมีน้อย วัตถประสงค์เพื่อศึกษาความชกุ ของภาวะวิตามินต่ำในผู้ป่วยเด็กเล็กที่มาด้วยหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงหวีด
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) เก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติด้วยอาการหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงหวีด ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเก็บข้อมูลจากแบบเก็บข้อมูลทางคลินิก เก็บเลือดเพื่อส่งตรวจระดับ 25-hydroxy vitamin D โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) โดยแสดงผลเป็นจำนวนและร้อยละสำหรับข้อมูลแจงนับและแสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตสำหรับข้อมูลต่อเนื่อง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันจำนวน ๑๐๐ คน พบว่าเป็นเด็กชายร้อยละ ๓๖.๑ ช่วงอายุที่พบบ่อยสุดคือ อายุ ๑ - ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๖ เป็นการหอบครั้งแรกร้อยละ ๔๓.๔ พบความชุกของการขาดวิตามินดีเป็นร้อยละ ๔.๘ ความชุกของระดับวิตามินต่ำเป็นร้อยละ ๒๘.๙ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านเพศประวัติบิดาหรือมารดาเคยเป็นโรคหืด การหอบซ้ำ การอยู่สถานรับเลี้ยงเด็ก การสูบบุหรี่ของมารดาขณะตั้งครรภ์และการสูบบุหรี่ของคนในบ้านไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตามินดีต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ภาวะระดับวิตามินดีต่ำพบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็กเล็กที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงหวีด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แต่ไม่พบปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตามินดีต่ำอย่างมีนัยสำคัญ