Comparative study on efficacy of physiotherapy and physiotherapy combined with Thai massage on rehabilitation outcome and quality of life of ischemic stroke patients with hemiplegia

Authors

  • Jirayu Chartsuwan Department of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Pornrawee Peanpadungrat Department of Rehabilitation, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Arunporn Itharat Department of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Naphat Panichakarn Department of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University

Keywords:

Thai massage, Physiotherapy combined with Thai massage, Rehabilitation, Ischemic stroke, นวดไทย, กายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย, การฟื้นฟู, โรคหลอดเลือดสมองตีบ

Abstract

Introduction: Thai massage is the wisdom of people treated for disease prevention, health promotion, rehabilitation and helps to reduce individual’s stress levels improves overall circulation of patients but their relative effectiveness of Thai massage on rehabilitation outcome of ischemic stroke patients in comparison to only physiotherapy, standard treatment, has not been established. The objective of this study aimed to compare the efficacy of physiotherapy (PT) and physiotherapy combined with Thai massage (PTTM) on rehabilitation outcome and quality of life of ischemic stroke patients.

Method: A quasi-experimental clinical research study was designed. Sixty eight volunteers participated and were divided into two groups. The subjects were allocated to the control group (34 subjects) receiving the physical rehabilitation with physiotherapy or the treatment group (34 subjects) receiving the physiotherapy combined with Thai massage 11 times. All subjects received a follow up on the day 0, day 15th and day 30th of the months. The effectiveness of treatment was evaluated by skill evaluation in activities of daily living (Modified Barthel Index (MBI), the Fugl-Meyer Assessment of Physical Performance evaluation and quality of life questionnaire SF-36 version update, Thailand, year 2005, and the mean differences in those scores were compared between groups by using repeated measures ANOVA.

Result: The physiotherapy combined with Thai massage revealed significant difference when compared with only physiotherapy; the basic activities of daily living (PT = 65.29 ± 16.10, PTTM = 74.62 ± 18.27), the functions of the upper limbs (PT = 28.71 ± 8.60, PTTM = 40.32 ± 9.91), upper and lower extremity sensation (PT = 19.12 ± 3.86, PTTM = 21.00 ± 2.20), range of motion of joints (PT = 27.00 ± 7.32, PTTM = 30.44 ± 3.88) and joint pain (PT = 33.26 ± 5.54, PTTM = 38.71 ± 5.18) For the work of the lower limbs (PT = 21.47 ± 4.90, PTTM = 20.76 ± 5.07) and balance (PT = 8.45 ± 2.45, PTTM = 7.53 ± 2.51), there were no significant differences between two groups. The evaluation of the SF-36 showed that the group with physiotherapy combined with Thai massage the quality of life of patients was improved significantly. (PT = 107.32 ± 9.32, PTTM = 112.15 ± 5.89)

Discussion and Conclusion: The physiotherapy combined with Thai massage showed the effectiveness in rehabilitation  outcome and the quality of life was better than ischemic stroke patients who got rehabilitation with only physiotherapy when the patients got a Thai massage continuously for 30 days.

เปรียบเทียบประสิทธิผลการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทยต่อความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ

บทนำ: การนวดไทยเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในการบำบัดรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยที่สืบทอดกันมายาวนาน ส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนวดไทยเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองกับวิธีมาตรฐานคือการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย ในการฟื้นฟูความสามารถร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยทางคลินิกกึ่งทดลอง มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มกายภาพ (PT) จำนวน ๓๔ คน จะได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดและกลุ่มกายภาพร่วมกับการนวดไทย (PTTM) จำนวน ๓๔ คน ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสภาพด้วยการนวดไทยและการกายภาพบำบัด ทั้งหมด ๑๑ ครั้ง อาสาสมัครทั้งหมด จะได้รับการติดตามอาการในวันเริ่มการทดลอง วันที่ ๑๕ และวันที่ ๓๐ ประเมินประสิทธิผลรักษาจากแบบประเมินทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน (Modified Barthel Index; MBI), แบบประเมิน Fugl-Meyer Assessment of Physical Performance และแบบประเมินคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๘ และวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบผลการวัดซ้ำระหว่างกลุ่มอาสาสมัครโดยใช้สถิติ Repeated measures ANOVA

ผลการศึกษา: จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับการกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย มีทักษะการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (PT = ๖๕.๒๙ ± ๑๖.๑๐, PTTM = ๗๔.๖๒ ± ๑๘.๒๗), การทำงานของกล้ามเนื้อส่วนบน (upper motor extremity) (PT = ๒๘.๗๑ ± ๘.๖๐, PTTM = ๔๐.๓๒ ± ๙.๙๑), การรับความรู้สึกของรยางค์ส่วนบน และรยางค์ส่วนล่าง (upper and lower extremity sensation) (PT = ๑๙.๑๒ ± ๓.๘๖, PTTM = ๒๑.๐๐ ± ๒.๒๐), พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion) (PT = ๒๗.๐๐ ± ๗.๓๒, PTTM = ๓๐.๔๔ ± ๓.๘๘) และความปวดตามข้อต่างๆ (joint pain) (PT = ๓๓.๒๖ ± ๕.๕๔, PTTM = ๓๘.๗๑ ± ๕.๑๘) ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว แต่การทำงานของกล้ามเนื้อส่วนล่าง (lower motor extremity) (PT = ๒๑.๔๗ ± ๔.๙๐, PTTM = ๒๐.๗๖ ± ๕.๐๗) และการทรงตัว (balance) (PT = ๘.๔๕ ± ๒.๔๕, PTTM = ๗.๕๓ ± ๒.๕๑) ทั้งสองกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) ส่วนคะแนนประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) (PT = ๑๐๗.๓๒ ± ๙.๓๒, PTTM = ๑๑๒.๑๕ ± ๕.๘๙) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทยช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดอย่างเดียวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: จากการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าการกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย มีประสิทธิผลในการฟื้นฟูร่างกายโดยเฉพาะการฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนบน การรับความรู้สึก พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ ลดการปวดตามข้อ และเพิ่มคุณภาพชีวิตดีกว่าการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อได้รับการนวดไทยอย่างต่อเนื่อง ๓๐ วัน

Downloads

Published

2017-09-19

Issue

Section

Original Articles