การประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สมพร วัชระศิลป์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำแนก ตามอายุ รายได้ ระดับการศึกษา และระดับน้ำตาลในเลือด และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและ แนวทางแก้ไขปัญหา การประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามวัด ระดับการมีสติจำนวน 4 ด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 210 คน ซึ่งได้จากการ สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) วิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้ สถิติจำนวนค่าร้อยละ ความถี่ แบบทดสอบ F-Test และ T- Test

ผลการวิจัยพบว่า

การประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ด้านการใช้ยาและด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการออกกำลังกาย ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกันมีการประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ มีระดับน้ำตาลในเลือดต่างกัน มีการประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านการออกกำลังกาย และด้านการใช้ยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านจิตใจไม่แตกต่างกันข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีดังนี้ ด้านอาหารและ เครื่องดื่มพบปัญหาคือ (1) ผู้ป่วยมักหิวกระหายอยากกินของหวาน (2) รับประทานอาหารตามอำเภอใจ ด้านการ ออกกำลังกายพบว่าปัญหาคือ (1) ขี้เกียจ และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ด้านการใช้ยาพบปัญหาคือ (1) ผู้ป่วยโรค เบาหวานกินยาไม่ตรงเวลา มัวทำงานเพลิน (2) ไม่พกลูกอม หรือของหวานติดตัว ด้านจิตใจพบปัญหาคือ (1) ไม่ เข้าใจการตามรู้ดูจิต (2) ชอบคิดมาก ซึมเศร้า อยู่กับความกังวล (3) ไม่มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต และผู้ป่วย ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาคือ (1) ควรจัดให้มีการอบรมปรับความเห็นถูกให้เข้าใจความจริงของชีวิตและมีการ เรียนรู้เรื่องสติ (2) ฝึกสติพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจให้เห็นความเกิดดับของอารมณ์ (3) ควรฝึกทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฝึกสมาธิ และรู้จักปล่อยวาง

 

An Application of Consciousness in Self-care of Diabetics, Somdejphrasaunggharagh Hospital (Wasana Maha Thera), Nakornlung, Ayuthhaya

Somporn Watcharasin*

Abstract

The objectives of this thematic paper were: to study the application of consciousness in self-care of diabetics, classified by age, monthly income, education and level of blood sugar, and to study suggestions and solutions concerning the problems of the application of consciousness in self-care of diabetics. A random sampling technique was used to recruit 210 diabetics. The tools used in the study included an open-ended and closed-ended questionnaire. The statistics used in analyzing the data were frequency, percentage, mean and standard deviation. Statistical hypothesis testing was conducted by using T-test and F-test.

The results of the study were as follows:

Overall, the application of consciousness in self-care of diabetics was at a high level. When each aspect was individually considered, from the highest mean to the lowest, it was found that the aspect of mind was at the highest level, followed by the aspect of medicine use, and the aspect of exercise was at the lowest level. The application of consciousness in self-care of diabetics with different age, education and monthly income was not significantly different. The application of consciousness in self-care of diabetics with different level of blood sugar, overall, was different at a statistically significant level of 0.05. However, there was no difference in the aspect of mind. In the aspect of food and drink, it was found that: 1) the diabetics wanted to eat and drink sweet things, and 2) they always ate arbitrarily. In the aspect of exercise, it was found that: 1) the diabetics were lethargic and they did not have time for exercise. In the aspect of medicine use, it was found that: 1) sometimes the diabetics did not use medicine on time and 2) they forgot to keep toffee or sweets at hand. In the aspect of mind, it was found that: 1) the diabetics did not understand how to observe the mind, 2) they always felt sad, depressed and worried and 3) they also lacked of Dhamma for their livelihood. It was suggested that, 1) a course of meditation training should be provided, 2) the diabetics should try to observe the taking place and the disappearance of thought and, 3) they should make donations, observe the precepts and practice meditation, and they should try to be indifferent.

* Professional nurse, Somdejphrasaunggharagh hospital, Nakornlung, Ayutthaya

Article Details

How to Cite
1.
วัชระศิลป์ ส. การประยุกต์ใช้สติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 25];24(1):105-20. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18335
Section
บทความวิจัย