TY - JOUR AU - คำทะเนตร, ตรีนุช AU - ศรไชย, โสมภัทร PY - 2015/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการนวดฝีเย็บ ของสตรีตั้งครรภ์ JF - Nursing Journal of The Ministry of Public Health JA - NJPH (วารสาร พ.ส.) VL - 25 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39503 SP - 88-102 AB - <p class="BasicParagraph" align="center"><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p class="BasicParagraph">      การศึกษาแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาการยอมรับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการนวดฝีเย็บของสตรีตั้งครรภ์ ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สุ่มตัวอย่างแบบโควตาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ได้สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่เคยและเคยผ่านการคลอดทางช่องคลอดกลุ่มละ 93 คน รวม 186 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองได้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้เรื่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง แบบวัดทัศนคติเรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงและแบบวัดความรู้เรื่องการนวดฝีเย็บ เท่ากับ .83, .83 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณา หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ในโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p><p class="BasicParagraph">      1. การยอมรับการนวดฝีเย็บ พบว่า อาสาสมัครทั้งกลุ่มที่ไม่เคยและเคยผ่านการคลอดส่วนใหญ่ยอมรับและยินดีที่จะนำการนวดฝีเย็บไปทดลองใช้ คิดเป็นร้อยละ 49.5 และ 51.6 ตามลำดับ และมี  ส่วนน้อยที่ไม่ยอมรับการนวดฝีเย็บคิดเป็นร้อยละ 4.3 และ 2.2 ตามลำดับ</p><p class="BasicParagraph">      2. ข้อมูลของประชากร ความรู้เรื่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ทัศนคติเรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงและความรู้เรื่องการนวดฝีเย็บ ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการนวดฝีเย็บของ   สตรีตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p><p class="BasicParagraph">      3. ความรู้ในเรื่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายในดีกว่าภายนอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 และพบว่า ทัศนคติเรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงที่มีมาแต่โบราณถูกกร่อนและหายไปตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์แตกต่างไปจากเดิม ผู้หญิงต้องการเรียนรู้เรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์ โดยการเรียนรู้ควรใช้ศัพท์ทางวิชาการ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน ลดความกระดากอาย หรือความไม่สะดวกใจในการสื่อสาร ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมความสามารถของสตรีตั้งครรภ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศและอวัยวะสืบพันธุ์ และสามารถใช้ในการสอนการเตรียมคลอดได้</p><p class="BasicParagraph"><strong>คำสำคัญ </strong>: การนวดฝีเย็บ การยอมรับ ความรู้ ทัศนคติ ความเป็นหญิงชาย</p><p class="BasicParagraph">*วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p><p class="BasicParagraph">**อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม  มหาวิทยาลัยนครพนม</p><p class="BasicParagraph">***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง  คณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong><br /></strong></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Factors related to acceptance about perineal massage among pregnant women*</strong></p><p class="BasicParagraph" align="right"><em>Threenush Kumtanat**</em></p><p align="right"><em>Sommaphat  Sornchai***</em></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Abstract</strong></p><p class="BasicParagraph">      Descriptive correlational design is to study factors related to acceptance about perineal massage among pregnant women who received antenatal care at Khon Kaen Hospital, Khon Kaen Province. Quota sampling was used in the study from February – March 2014 There were 186 participants, who had given childbirth and had never given childbirth 93 each group. The data was collected by self-administrative questionnaires. The reliability of knowledge of female sexual organs questionnaire, attitude towards sex and female sexual organs questionnaire and knowledge of perineal massage questionnaire by using correlation coefficient were  .83, .83 and .86 respectively. By using SPSS program for descriptive statistics, Chi-square and Spearman rank correlation, the findings indicated that:</p><p class="BasicParagraph">      1. Acceptance perineal massage: the study showed that participants in both groups accepted the massage and were willing to apply the massage in the percentages of 49.5 and 51.6. However, there were 4.3 and 2.2 percent of participants who did not accept the massage.</p><p class="BasicParagraph">      2. The population factors, knowledge of female sexual organs, attitude towards sex and female sexual organs, and knowledge of perineal massage were not associated with acceptance perineal massage at statistical significance of .05.</p><p>3. Participants were well-educated in internal than the external female sexual organs at statistical significance of .001. Moreover, attitude towards sex and female sexual organs in the past had been eroded according to globalization, so did the female sexual organs awareness and sex education. This had to be done academically not only for a good understanding but also preventing embarrassment. It would be a great opportunity to encourage pregnant women to learn more about female sexual organs and sex education for childbirth preparation.</p><p class="BasicParagraph"><strong>Keyword :</strong> Perineal Massage, Acceptance, Knowledge, Attitude, Gender</p><p class="BasicParagraph">*Thesis, Master Degree of Nursing Science in Midwifery, Khon Kaen University.</p><p class="BasicParagraph">**Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing Nakhon Phanom, Nakhon Phanom University.</p><p>***Assistant Professor, Dr.  Faculty of Nursing, Khon Kaen University.</p> ER -