TY - JOUR AU - เทอร์เนอร์, กมลรัตน์ AU - ธรรมกุล, ดวงเนตร AU - ศุกลปักษ์, มาสริน AU - ศุจิจันทรรัตน์, รัชนี PY - 2016/03/03 Y2 - 2024/03/29 TI - คุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของอาจารย์พยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 1 สถาบันพระบรมราชชนก JF - Nursing Journal of The Ministry of Public Health JA - NJPH (วารสาร พ.ส.) VL - 25 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47289 SP - 184-198 AB - <p class="BasicParagraph" align="center"><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p class="BasicParagraph">       คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตขององค์กร การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต  การทำงาน  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 1 สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 5 แห่ง จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่ศึกษา ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านลักษณะงาน  ด้านวัฒนธรรมองค์กร   ด้านบรรยากาศองค์กร ด้านความผูกพันต่อองค์กร ลักษณะข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำเครื่องมือไปคำนวณความเที่ยงได้ค่าแอลฟาครอนบาคดังนี้ คุณภาพชีวิตการทำงาน เท่ากับ .96 ลักษณะงาน .88  วัฒนธรรมองค์กร .92  บรรยากาศองค์กร .94 และความผูกพันต่อองค์การ .91 </p><p class="BasicParagraph">       ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.67 SD =.53)  2) ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องรายได้พิเศษ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะงาน วัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล  (r = .248, .508, .755, .796, .793 ตามลำดับ) ส่วนจำนวนวันที่ปฏิบัติงานสอนบนหอผู้ป่วยเฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล  (r = -.277) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01  และ 3) ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และรายได้พิเศษ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล ได้ร้อยละ 80.1 (R<sup>2</sup> = 0.801, F = 4.176, p &lt; .05)  ดังนั้น ผู้บริหารควรหากลยุทธ์และนวตกรรมการสร้างบรรยากาศในองค์กร การสร้างความผูกพันต่อองค์กร และสนับสนุนให้กับอาจารย์พยาบาลในหน่วยงานได้ทำงานซึ่งเพิ่มรายได้พิเศษ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของอาจารย์พยาบาลให้ดีขึ้น และส่งผลต่อการทำงานให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p><p class="BasicParagraph"><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>คุณภาพชีวิตการทำงาน ; อาจารย์พยาบาล</p><p class="BasicParagraph">*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี ; อีเมล์ติดต่อ : kmrturner@gmail.com</p><p class="BasicParagraph">** คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต</p><p class="BasicParagraph">*** วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี </p><p class="BasicParagraph">****คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล</p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong><br /></strong></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Quality of Working Life and Related Factors of Nurse Educators at Central Network 1 Nursing Colleges of Praboromarajchanok Institute</strong></p><p class="BasicParagraph" align="right"><em>Kamolrat Turner*, Doungnetre Thummakul**, Masarin Sukolpuk***, Rachanee Sujijantararat****</em></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Abstract</strong></p><p class="BasicParagraph">       Quality of working life (QWL) is very important for the performance of personnel which relate to effectiveness and productivity of organizations. This descriptive study was therefore conducted to identify the level of QWL of nurse educators and examine associated and predicting factors. The sample was composed of 203 nurse educators at 5 nursing colleges of Praboromarajchanok Institute, Central Network 1. A self-administered questionnaire of 2 sets of questions was used to collect the data. Part 1 related to demographic data while Part 2 comprised study factors including job characteristics, perceived organizational culture, organizational climate, organizational commitment, and quality of working life. The questionnaire items used a 5 rating scale form, with  Cronbach’s alpha coefficient of reliability giving values  .88, .92, .94, .91 and .96, respectively, for each factor. The data were analyzed using descriptive statistics, correlation, and stepwise multiple regression analysis. The findings revealed that 1) the level of overall QWL was high (Mean = 3.67 SD = .53); 2) extra income, job characteristics, perceived organizational culture, organizational climate, and organizational commitment had significant positive relationships with QWL (r = .248, .508, .755, .796, .793, p &lt; 0.01 respectively) while amount of time performing clinical teaching had negative relationships with QWL (r = -.277, p &lt; 0.01); and 3) organizational climate, organizational commitment, and extra income explained 80.1% of QWL (R<sup>2</sup> = 0.801, F = 4.176, p &lt; .05). The findings suggest that administrators should seek strategies and innovations to foster a better organizational climate and organizational commitment, as well as support the nurse educators to get some work that provide extra income in order to increase their QWL and increase effectiveness of work in return.</p><p class="BasicParagraph"><strong>Keywords: </strong>Quality of Working Life; Nursing educators</p><p class="BasicParagraph">*Boromarajonani College of Nursing, Chonburi ; e-mail : kmrturner@gmail.com</p><p class="BasicParagraph"> **Nursing, Suandusit University</p><p class="BasicParagraph">***Boromarajonani College of Nursing, Chang Wat Nonthaburi</p>**** Faculty of Nursing, Vongchavalitkul University ER -