TY - JOUR AU - เกิดม่วง, สุวัฒนา PY - 2016/04/25 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบวิถีไทยของประชาชนบ้านท่าระหัด จังหวัดสุพรรณบุรี JF - Nursing Journal of The Ministry of Public Health JA - NJPH (วารสาร พ.ส.) VL - 26 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57327 SP - 66-78 AB - <p class="BasicParagraph" align="center"><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p class="BasicParagraph">      การดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเป็นกระบวนการสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบวิถีไทย ของประชาชนบ้านท่าระหัด จังหวัดสุพรรณบุรี มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินสถานการณ์ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 การประเมินผล</p><p class="BasicParagraph">      โดยระยะประเมินสถานการณ์เป็นการศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐานและปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกาย คือ 1) ท่าทางการออกกำลังกายยาก  2) ไม่มีแรงจูงใจมากพอหรือไม่ตระหนักในสุขภาพตนเอง 3) ไม่มีเวลา 4) ไม่สนุกหรือไม่รู้สึกว่ามีความสุขในการออกกำลังกาย</p><p class="BasicParagraph">      ระยะพัฒนารูปแบบ ใช้ข้อมูลจากขั้นตอนการประเมินสถานการณ์มาพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยออกแบบร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในชุมชนท่าระหัด จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาจง กลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดย 1) ใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการมาออกกำลังกาย 2) การวางแผนกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบการดำเนินงาน และพัฒนาทักษะการออกกำลังกาย 3) ดำเนินกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบวิถีไทย (การรำวงย้อนยุค) และ 4) การประเมินผล</p><p class="BasicParagraph">      ระยะประเมินผล หลังการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ พบว่า 1)  ค่าเฉลี่ยการรับรู้และความรู้สึกต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายตามแนวคิดของเพนเดอร์ พบว่าภายหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) ยกเว้นการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าช่วงก่อนการทดลอง 2) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่าภายหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) และ 3) ค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีมวลกายพบว่าภายหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าช่วงก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05)</p><p class="BasicParagraph">       การวิจัยครั้งนี้ จึงขอเสนอแนะว่ารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบวิถีไทยส่งผลให้ประชาชน เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย อีกทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน</p><p class="BasicParagraph"><strong>คำสำคัญ</strong><strong>  : </strong>พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ; ออกกำลังกายแบบวิถีไทย</p><p class="BasicParagraph"><em>* วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี อีเมล์ติดต่อ :wadna2327@hotmail.com</em></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong><em></em><br /></strong></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Development of Health Promoting Behaviors Model by Thai </strong></p><p class="BasicParagraph"><strong>Traditional Dance Exercise in Tharahad Community, Suphanburi</strong></p><p class="BasicParagraph" align="right"><em>Suwattana Kerdmuang* </em></p><p class="BasicParagraph" align="center"><strong>Abstract</strong></p><p class="BasicParagraph">      Strengthening community action is important to promote good health. The objective of this research and development was to develop the health promoting behavior model of Thai traditional dance exercise in Tharahad community, Suphanburi. There were three phases in research procedure including 1) situational analysis 2) developmental and 3) evaluation phases.</p><p class="BasicParagraph">      A situational analysis phase was conducted to explore factors influencing exercise behaviors. In-depth interview was used to examine exercise behaviors among participants. Factors related to lacking exercise behaviors were 1) difficult exercise postures 2) lack of motivation or lack of self-awareness 3) lack of time and 4) boredom of exercise.</p><p class="BasicParagraph">      A developmental phase was conducted based on the results from situation analysis to develop the model for exercise behavior promotion. All activities in this phase were collaboratively designed between the researcher and 40 research participants who were selected by purposive random sampling.  Processes of enhancing the behaviors consisted of 1) discussion and analysis exercise problems by practitioners, 2) development of action plan and responsibility assignment for exercise promotion,  3) program implementation by applying the health promotion model with Thai traditional dance, and  4) evaluation.</p><p class="BasicParagraph">      An evaluation phase was conducted after the 16-week research procedure. It was found that the participants had a significantly higher mean scores of 1) perceived behaviors according to Pender’s model except of perceived barriers to exercise behaviors , 2) exercise behavior than the pre-test mean (p&lt;.05), and 3) the mean score of body mass index (BMI) was significantly lower after intervention (p &lt; .05).</p><p class="BasicParagraph">       This study revealed that the model of health promoting behaviors with Thai traditional dance exercise could encourage people in the community to increase their exercise practices because traditional dance is consistent with the way of Thai life style. Community involvement could also enhance sustainable behavior.</p><p class="BasicParagraph"><strong>Keywords :</strong> Health Promoting Behaviors; Thai Traditional Dance Exercise</p><p class="BasicParagraph"><em>* Sirindhorn College of Public Health, Suphanburi ; e-mail :  wadna2327@hotmail.com</em></p> ER -