@article{Sooktho_2020, title={ผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการของโรคลมปลายปัตคาด สัญญาณ 4 หลัง}, volume={6}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/240446}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณบ่า คอ และสะบัก อาจจะมีอาการชาร้าวไปถึงหัวไหล่ลงไปที่แขนด้านนอกไปจนถึงปลายนิ้วมือ สำหรับการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อในปัจจุบันจะขึ้นอยู่กับแนวทางของการรักษาของแพทย์หรือผู้ทำการรักษา มี 2 วิธี ได้แก่ 1) การรักษาโดยการใช้ยา และ 2) การรักษาโดยการไม่ใช้ยา ซึ่งการนวดไทยแบบราชสำนักเป็นหนึ่งในการรักษาที่ใช้บ่อยในการรักษาโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง <strong>วัตถุประสงค์การศึกษา</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการของโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง <strong>รูปแบบการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบกลุ่มเดียว (One group study design) <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> อาสาสมัครจำนวน 30 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง ซึ่งเป็นเพศชาย 8 คน และเพศหญิง 22 คน อาสาสมัครได้รับการนวดไทยเป็นเวลา 30 นาที 1 ครั้ง และติดตามผลการรักษา 2 วัน <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่าหลังการนวดไทยแบบราชสำนักทั้งผลทันทีและการติดตามผล 2 วัน มีค่าระดับความเจ็บปวด องศาการเคลื่อนไหวคอ ความทนทานต่อความเจ็บปวด ความถี่และระยะเวลาของอาการปวดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>>0.05) <strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> การนวดไทยแบบราชสำนักเป็นวิธีการรักษาทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนได้ และเป็นการสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเพื่อนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง, การนวดไทยแบบราชสำนัก, จุดกดเจ็บ</p>}, number={1}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={Sooktho, Suparat}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={1–20} }