@article{Chaiprakaiwan_2020, title={การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยในการกักน้ำมันงา และน้ำมันตำรับขัดมอนในการบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง}, volume={6}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/240451}, abstractNote={<p>            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการกักน้ำมันงากับการกักน้ำมันตำรับขัดมอนในการบรรเทาการปวดหลังส่วนล่าง และเพื่อศึกษาความปลอดภัยของน้ำมันตำรับขัดมอน จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน ที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการกักน้ำมันงา และกลุ่มที่ 2 ได้รับการกักน้ำมันตำรับขัดมอน โดยทำการตรวจร่างกายและประเมินระดับความเจ็บปวด Visual analogue scale (VAS) ก่อนและหลังจากการกักน้ำมันต่อเนื่อง 5 วัน</p> <p>            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 46 ปีและ 42 ปี มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 27.82 และ 24.43 กิโลกรัม/ตารางเมตร ตามลำดับ โดยกลุ่มที่ 1 ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ยก่อนการรักษาเท่ากับ 4.38 และหลังการรักษาเท่ากับ 2.14 ระดับความเจ็บปวดลดลงร้อยละ 90 กลุ่มที่ 2 มีระดับความเจ็บปวดเฉลี่ยก่อนการรักษาเท่ากับ 5.15 และหลังการรักษาเท่ากับ 1.85 ระดับความเจ็บปวดลดลงร้อยละ 100 จากการเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ 1 มีระดับความเจ็บปวดลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 2.27 และกลุ่มที่ 2 เท่ากับ 3.33 เมื่อทำการเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Independent sample t-test  พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดที่ลดลงหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value = 0.001 โดยการกักน้ำมันตำรับขัดมอนสามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้มากกว่าการกักน้ำมันงา เนื่องจากน้ำมันตำรับขัดมอนมีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการคลายกล้ามเนื้อ ลดการตึงเกร็ง และการอักเสบของกล้ามเนื้อ และไม่มีรายงานการแพ้ หรือการได้รับอันตรายของอาสาสมัครจากการกักน้ำมันตำรับขัดมอน</p>}, number={1}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={Chaiprakaiwan, Supawan}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={35–44} }