@article{จิตจำ_เลาหประภานนท์_ส่งแสง_แก้วจะระ_2021, title={องค์ความรู้และตำรับยาโรคหอบหืดของหมอพื้นบ้าน: กรณีศึกษาหมอทวี หมันหมาด}, volume={7}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/250834}, abstractNote={<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และตำรับยาโรคหอบหืดของหมอพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ จำนวน 1 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและผ่านเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วมกับการสังเกต นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา วิเคราะห์ตำรับยาตามหลักการแพทย์แผนไทย และศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ผลการศึกษาพบว่า หมอพื้นบ้านเพศชาย อายุ 65 ปี          มีประสบการณ์รักษาโรคมานานกว่า 46 ปี องค์ความรู้โรคหอบหืดคือ หอบจะเหนื่อยทั้งกายและใจ ส่วนหืดอยู่ ๆ    ก็จะเป็นขึ้นเองเป็นพัก ๆ บ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น มลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ และปัจจัยภายใน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ เกิดจากศอเสมหะและอุระเสมหะ เกิดจากลมในกระเพาะและลำไส้ และเกิดจากภูมิแพ้ ตรวจวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย ตรวจชีพจร และตรวจปอด อาการของโรคหอบหืด มักจะไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก หมอพื้นบ้านรักษาด้วยการจ่ายยาสมุนไพรตามสาเหตุของโรคหอบหืด จำนวน 3 ตำรับ และแนะนำการปฏิบัติตัวโดยหลีกเลี่ยงอาหารแสลงและสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ ตำรับยาโรคหอบหืดล้วนเป็นสมุนไพร เช่น พิกัดเบญจโกฐ พิกัดเบญจเทียน ว่านน้ำ ดีปลี พริกไทย ขิง สะค้าน บอระเพ็ด เปราะหอม น้ำผึ้งรวง เป็นต้น สมุนไพรส่วนใหญ่มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ขับลมในลำไส้ และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาช่วยต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน ขยายหลอดลม ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดได้</p>}, number={2}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={จิตจำ ศรินทร์รัตน์ and เลาหประภานนท์ สิริรัตน์ and ส่งแสง เรวัตร์ and แก้วจะระ ฐิติวรดา}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={75–92} }