@article{พาณิชยูปการนันท์_2021, title={สารต้านเอสโตรเจนจากสารสกัดขึ้นฉ่าย}, volume={4}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/254044}, abstractNote={<p>นำสารประกอบ 6 ชนิด ได้แก่ junipediol A-8-<em>O</em>-β-D-glucoside (<strong>1</strong>), isofraxidin-β-D-glucoside (<strong>2</strong>), icariside D<sub>2 </sub>(<strong>3</strong>), apiin (<strong>4</strong>), chrysoeriol 7-<em>O</em>-β-D-apiosylglucoside (<strong>5</strong>) และ 11,21-dioxo-3α,15β,24-trihydroxyurs-12-ene-24-<em>O</em>-β-D-glucopyranoside (<strong>6</strong>) ซึ่งแยกได้จากสารสกัดหยาบด้วยเอทานอลของขึ้นฉ่ายมาทดสอบฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน โดยใช้เซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจน (MCF-7) พบว่า junipediol A-8-<em>O</em>-β-D-glucoside และ 11,21-dioxo-3α,15β,24-trihydroxyurs-12-ene-24-<em>O</em>-β-D-glucopyranoside มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่เกิดจากการกระตุ้นของเอสโตรเจน โดยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้ร้อยละ 83 และ  78 ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นของสาร 100 ไมโครโมลาร์ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผลของการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของขึ้นฉ่ายอาจมีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านเอสโตรเจนของสารทั้งสองในกรณีที่หญิงให้นมบุตรมีปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอเนื่องจากมีการหลั่งเอสโตรเจนมากเกินไป</p>}, number={2}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={พาณิชยูปการนันท์ ภาคภูมิ}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={19–26} }