@article{ปัญญาภา_2021, title={องค์ความรู้เรื่องวิธีการบำบัดโรคในพระไตรปิฎก}, volume={5}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/254051}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เรื่องการบำบัดโรคที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ผลการศึกษาพบว่า การบำบัดโรคในพระไตรปิฎกต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจด้วย กล่าวคือ ไม่ใช่แค่บำบัดโรคทางกาย เพราะโรคทางกายมีผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์ด้วย วิธีการรักษาสามารถจำแนกเป็น 4 ประการหลัก ๆ คือ 1) วิธีบำบัดโรคโดยอาศัยอำนาจเหนือธรรมชาติ คือ การเสกเป่า การรักษาทางภูติรัก 2) วิธีการบำบัดโรคด้วยยาหลายประเภท กล่าวคือ ยาจำแนกตามวิธีการใช้ 7 ประเภท เช่น <em>ยากิน</em> <em>ยาทา</em> <em>ยารม</em>ยาจำแนกตามชนิดของตัวยา เช่น <em>ยารากไม้</em> <em>ยาน้ำ</em> จำแนกตามกระบวนการแปรรูป เช่น <em>ยาดอง</em> <em>ยาต้ม</em> จำแนกตามวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น <em>เกลือ</em> <em>เนื้อดิบและเลือดสด</em> <em>ดินติดผาลไถ</em> และ<em>ยามหาวิกัฏ 4 ชนิด คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน</em> 3) วิธีการบำบัดโรคด้วยการผ่าตัด (สัตถกกรรม) และ 4) วิธีการบำบัดโรคด้วยวิธีอื่น ๆ  เช่น การใช้ผ้าพันแผล การล้างแผล การรมแผลด้วยควัน และการใช้เขาสัตว์กอกดูดระบายโลหิต หนอง หรือลมออกจากร่างกาย</p>}, number={1}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={ปัญญาภา รัตนะ}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={1–14} }