@article{อำพันธุ์_แสงวิเชียร_ฟักคำ_2022, title={การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารบ่งคุณภาพในตำรับยาฝีธนูธรวาต}, volume={8}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/254160}, abstractNote={<p>ตำรับยาฝีธนูธรวาตเป็นตำรับยาที่อยู่ในตำราศิลาจารึกวัดโพธิ์ประกอบไปด้วยสมุนไพร 7 ชนิด ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารบ่งคุณภาพเพื่อการควบคุมคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารบ่งคุณภาพของตำรับยาฝีธนูธรวาต ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง เอชพีแอลซีทำการศึกษาวิเคราะห์คุณภาพตำรับยาฝีธนูธรวาตพร้อมตรวจสอบความถูกต้องของวิธีด้วยการหาค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ค่าความแม่นยำ ค่าความถูกต้อง ค่าขีดจำกัดของการตรวจวัดและขีดจำกัดของการหาปริมาณ การศึกษาพบว่าสารบ่งคุณภาพที่เหมาะสม คือ 6-gingerol ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในขิง ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์สารนี้โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน กราฟมาตรฐานของสารบ่งคุณภาพ (6-gingerol) แสดงความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีในช่วงวิเคราะห์ (r2=0.9994) ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของการวิเคราะห์ภายในวันเดียวกันเท่ากับ 1.21 และร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของการวิเคราะห์ระหว่างวันเท่ากับ 1.45 ค่าการกลับคืนของวิธีวิเคราะห์อยู่ในช่วงร้อยละ 99.61 ถึง 100.84 ขีดจำกัดในการตรวจพบและขีดจำกัดในการหาปริมาณคือ 0.13 และ 0.39 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณสารบ่งคุณภาพในตำรับยาฝีธนูธรวาตด้วยวิธี เอชพีแอลซี นี้ พบปริมาณสาร 6-gingerol 86.38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่าวิธีวิเคราะห์นี้มีความเหมาะสมของการวิเคราะห์หาสารบ่งคุณภาพในตำรับยาฝีธนูธรวาต</p>}, number={1}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={อำพันธุ์ สิรีธร and แสงวิเชียร สรรใจ and ฟักคำ ศุภะลักษณ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1–14} }