@article{ยินเจริญ_จิตจำ_เลาหประภานนท์_เฉียงแท้_หะยียะห์ยา_2022, title={การเปรียบเทียบประสิทธิผลของเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์และตำรับยาพอกสมุนไพรต่อการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์}, volume={8}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/257522}, abstractNote={<p>เจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรในตำรับยาพอกท้องน้อยขับโลหิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการบรรเทาอาการความเจ็บปวดของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ประสบปัญหาปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบรรเทาอาการปวดประเดือนของเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ ตำรับยาพอกสมุนไพรสูตรดั้งเดิม และเจลหลอกที่มีส่วนผสมของน้ำมันระกำและน้ำมันสะระแหน่ในอาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธ์ 45 คน ที่มีอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (กลุ่มละ 15 คน) ตรวจประเมินระดับอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังทดสอบในวันที่ 1 และวันที่ 2 ของการมีประจาเดือน ด้วยมาตรวัดความเจ็บปวด (Visual Analogue Scale; VAS) โดยทำการประเมินระดับอาการปวดประจำเดือนหลังการทดสอบที่เวลา 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์และยาพอกสูตรดั้งเดิมสามารถลดอาการปวดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์กับยาพอกสูตรดั้งเดิมพบว่าในวันที่ 1 และวันที่ 2 โดยส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มมีระดับอาการปวดประจำเดือนไม่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ตามเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์เป็นการพัฒนาสูตรตำรับสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สะดวกแก่การใช้งาน ส่งเสริมประชาชนที่สนใจสามารถเข้าถึงการใช้สมุนไพรได้ง่ายและสะดวกในการใช้มากยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={ยินเจริญ กัญทร and จิตจำ ศรินทร์รัตน์ and เลาหประภานนท์ สิริรัตน์ and เฉียงแท้ ชุตินันท์ and หะยียะห์ยา วสันต์}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={1–12} }