@article{น้อยผา_หมาดอี_หวังเกตุ_ดำกระ_2022, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองของประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช: English}, volume={8}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/259304}, abstractNote={<p>วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองของประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองของประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2565 จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 387 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.40 มีพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 65.37 เลือกใช้พืชกระท่อมช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การใช้พืชกระท่อมในช่วง 1-2 ปี ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ช่องทางการได้มา ค่าใช้จ่าย ปัจจัยเสริม ได้แก่ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.005)</p>}, number={2}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={น้อยผา กุสุมาลย์ and หมาดอี วิทวัส and หวังเกตุ สรายุทธ and ดำกระ อนินธิตา}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={81–98} }