@article{สมขาว_จุลทัศน์_ฉลอมพงษ์_ประเสริฐ_มุลตีกะ_2022, title={ประสิทธิภาพของเจลแต้มสิวที่มีส่วนผสมจากสารสกัดหอมแดง}, volume={8}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/260001}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหอมแดง (<em>Allium ascalonicum</em> L.) และทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เจลหอมแดง ดำเนินการโดยนำหอมแดงมาสกัดด้วย 50 % เอทานอล และทำแห้งด้วยวิธี freeze-dry จากนั้นนำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย <em>Propionibacterium acnes</em> แล้วนำไปพัฒนาเป็นเจลแต้มสิวจากสารสกัดหอมแดง และทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย P. acnes ผลจากการศึกษาพบว่า สารสกัดจากหอมแดงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่าความเข้มข้นในการยับยั้งอนุมูลอิสระ (IC50) เท่ากับ 17.04 ± 3.77 µg/mL และเมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสพบว่าสารสกัดหอมแดงมีฤทธิ์ในการต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 35.81±1.53 µg/mL นอกจากนี้สารสกัดจากหอมแดงมีฤทธิ์ต้าน <em>P .acnes</em> โดยมีค่าความเข้มข้นของสารในระดับต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ (MIC) เท่ากับ 25.00 mg/mL และค่าความเข้มข้นของสารในระดับต่ำสุดที่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ (MBC) เท่ากับ 50.00 mg/mL จากนั้นได้พัฒนาเป็นเจลแต้มสิวความเข้มข้น 0.25, 0.50 และ 1.00% พบว่าเจลมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย <em>P. acnes</em> และผลิตภัณฑ์เจลหอมแดงมีความคงตัวดีภายหลังการทดสอบด้วยวิธี Heating-Cooling cycle การศึกษานี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร</p>}, number={2}, journal={วารสารหมอยาไทยวิจัย}, author={สมขาว พรกรัณย์ and จุลทัศน์ จินตนา and ฉลอมพงษ์ ณิชาพัตร์ and ประเสริฐ ธัญลักษณ์ and มุลตีกะ ปรียาภรณ์}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={99–110} }