TY - JOUR AU - ธานี, มาลินี PY - 2021/06/23 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาปริมาณฟีนอลิกรวมของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย เห็ดหอม และเห็ดฟาง และการสูญเสียฟีนอลิกรวมเมื่อผ่านกระบวนการต้ม JF - วารสารหมอยาไทยวิจัย JA - วทจ. VL - 7 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/245075 SP - 85-100 AB - <p>เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย (<em>Dictyophora </em>spp.) เป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรายงานการพบกรดอะมิโนมากกว่า 20 ชนิด และมีไรโบฟลาวินสูง อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีน ขณะที่ประเทศไทยมีรายงานการพบและการเพาะเลี้ยงเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยบางชนิดเพื่อการบริโภค แต่รายงานการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย รวมไปถึงการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์หรือคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยกับเห็ดชนิดอื่นมีน้อยมาก นอกจากนี้การบริโภคเห็ดจะต้องปรุงสุก ซึ่งการผ่านความร้อนด้วยการต้มทำให้เห็ดสูญเสียสารฟีนอลิกจำนวนหนึ่ง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมในเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยเทียบกับเห็ดหอมและเห็ดฟาง และผลของการต้มของเห็ดแต่ละชนิด รวมถึงระยะเวลาในการต้มที่แตกต่างกัน 5, 10 และ 30 นาที ต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสารประกอบ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ฟีนอลิกรวม ผลการศึกษาพบว่า เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยมีค่าเฉลี่ยของสารประกอบฟีนอลิกเท่ากับ 173 µgGEA/g ซึ่งต่ำกว่าเห็ดฟาง (1358 µgGEA/g) และเห็ดหอม (516 µgGEA/g) อย่างไรก็ตามในการนำมาปรุงด้วยการต้มพบเห็ดฟางและเห็ดหอมเกิดการสูญเสียสารประกอบฟีนอลิกมากกว่าเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย โดยเห็ดหอมสูญเสียมากที่สุดและต่ำที่สุดในเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย ที่น่าสนใจคือ เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยเมื่อต้มในเวลาที่เหมาะสมช่วยเพิ่มสารฟีนอลิกรวม เห็ดทั้งสามชนิดมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงเหมาะที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพต่อไป</p> ER -