วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก แพทย์พื้นบ้าน th-TH phaksachiphonk@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.ภักศจีภรณ์ ขันทอง) ubruthaimed.j@gmail.com (ผศ.ดร.สุภัทรา กลางประพันธ์) Sun, 30 Jun 2024 09:17:04 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สารบัญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269997 <p>สารบัญ</p> สุภัทรา กลางประพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269997 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269954 <p>วารสารหมอยาไทยวิจัยเข้าสู่ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. <br>2567 โดยเน้นเฉพาะบทความที่มีความเกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก แพทย์บูรณาการ <br>และหมอพื้นบ้าน จำนวน 10 บทความ ซึ่งมีทั้งการศึกษาหมอพื้นบ้าน งานทางด้วยคลินิก และ<br>งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังคงสถานภาพการเป็นวารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 เข้าสู่ปีที่ 5 <br>กองบรรณาธิการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในวารสารหมอยาไทยวิจัยจักเป็นประโยชน์<br>แก่ผู้สนใจ และพร้อมที่จะพัฒนาความเข้มข้นทางด้านวิชาการและผลักดันการดำเนินการต่าง ๆ ตาม<br>ข้อกำหนดของ ThaiJo เพื่อให้วารสารมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในแต่ละปีทั้งนี้ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์<br>และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาเขียนและกลั่นกรองบทความก่อนตีพิมพ์เพื่อประโยชน์ทาง<br>วิชาการโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนด</p> <p><br>บรรณาธิการวารสารหมอยาไทยวิจัย<br>รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.ภักศจีภรณ์ ขันทอง</p> สุภัทรา กลางประพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269954 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของวัตถุดิบสมุนไพร ที่เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาตรีสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/259941 <p>พิกัดยาตรีสารประกอบไปด้วยสมุนไพร 3 ชนิดได้แก่ รากเจตมูลเพลิงแดง (<em>Plumbago indica</em> L.) เถาสะค้าน (<em>Piper wallichii</em> Miq.) และรากช้าพลู (<em>Piper sarmentosum</em> Roxb.) สมุนไพรในพิกัดนี้มีรสเผ็ดร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลมและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บทความนี้มุ่งนำเสนอการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของวัตถุดิบและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาตรีสาร ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาตรีสารทั้ง 3 ชนิด มีมาตรฐานสมุนไพรและข้อกำหนดทางกายภาพและทางเคมีที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพสมุนไพรเดี่ยว และการประเมินฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญของสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการควบคุมคุณภาพและสนับสนุนการนำพิกัดยามาพัฒนาเป็นยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพต่อไป</p> สุภัทรา กลางประพันธ์, ศรัณย์ ฉวีรักษ์, ศิริรักษ์ โหมดเทศ, รัตนา บุญคุณ, ธัญญชนา ธานี, อรสา สอนอาจ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/259941 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลและความปลอดภัยของดีบัว (Nelumbo nucifera) ช่วยการนอนหลับ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268242 <p>โรคนอนไม่หลับหรือ insomnia เป็นภาวะที่มีความยากลำบากในการนอนหลับซึ่งส่งผลให้เกิดความ<br />บกพร่องต่าง ๆ ต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาแทนการใช้ยาซึ่งมักมีผลข้างเคียง มีการใช้สมุนไพรดีบัวในการช่วยให้นอนหลับแต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เพียงพอ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาภาวะนอนไม่หลับด้วยแคปซูลดีบัว และ 2) ศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของดีบัว โดยทำการคัดเลือกอาสาสมัครแบบเจาะจงจำนวน 50 คน จากผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ระหว่างเดือน สิงหาคม 2566 ถึง เดือน ธันวาคม 2566 ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิตต์สเบิร์ก โดยคะแนนรวม Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 หมายถึง มีคุณภาพการนอนที่ดี คะแนนรวมที่มากกว่า 5 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี วิเคราะห์ภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพของการนอนหลับก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value &lt; 0.05) โดยมีค่า PSQI อยู่ในระดับ 15.24 ± 1.19 และ 1.82 ± 0.69 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของอาการไม่พึงประสงค์ พบว่า อาสาสมัครร้อยละ 98 ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์หลังเข้าร่วมการทดลอง มีเพียง 1 ราย มีอาการใจสั่นเล็กน้อย ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าดีบัวสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับได้โดยมีผลข้างเคียงน้อยในผู้ป่วยเฉพาะราย จึงอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาแทนการใช้ยาหรือใช้ควบคู่ไปกับยาอย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวรวมถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารพฤกษเคมีต่างๆ ในดีบัวเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของดีบัวมาใช้รักษาภาวะการนอนไม่หลับ</p> ศิริลักษณ์ มากมูล, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร, พิษณุ อุชุวัฒน์, ธัญวิสิษฐ์ เจริญยิ่ง Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268242 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิด้วยยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268244 <p>การศึกษาเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิด้วยยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental study) อาสาสมัครเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอาการปวดประจำเดือน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลอาการปวดประจำเดือน ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการมีประจำเดือน ลักษณะอาการปวดประจำเดือน (MSQ : Menstrual Symptom Questionnaire) และการประเมินอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังการรับประทานยาโดยใช้ NRS: Numerical Rating Scale ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครมีอายุ 18 ปี (ร้อยละ 86.67) ส่วนใหญ่มีประจำเดือนครั้งแรก อายุ 11 ปี (ร้อยละ 36.67) เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 90) ลักษณะอาการปวดประจำเดือนแบบ Spasmodic ร้อยละ 56.67 คือ ปวดหลัง ปวดท้อง และปวดขาด้านในและมีลักษณะอาการปวดประจำเดือนแบบ Congestive ร้อยละ 43.33 คือ รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย ใจร้อน ก่อนมีประจำเดือน และมี เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังรับประทานยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt;0.05) โดยค่าเฉลี่ยอาการปวดประจำเดือนก่อนรับประทานยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพราอยู่ในระดับปวดเล็กน้อย (x̄ = 5.93, S.D. = 2.00) และหลังรับประทานยาอยู่ในระดับไม่ปวดเลย (x̄ = 1.8, S.D.= 1.65) ดังนั้นผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนจึงสามารถใช้ยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพราบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยความมั่นใจ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน</p> เมธาวี กลิ่นกุหลาบทอง, วัฒนา ชยธวัช, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268244 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อการใช้ผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวกาย ที่มีส่วนผสมจากสารสกัดหนอนตายหยาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268259 <p>ปัญหาผิวของคนไทยส่วนใหญ่คือ การเกิดสิว ผิวขาดความชุ่มชื่น การเกิดฝ้าและจุดด่างดำบนใบหน้า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครและสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีส่วนผสมสารสกัดของหนอนตายหยากช่วงอายุ 20 - 60 ปี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 200 คน เพื่อทราบถึงความต้องการส่วนใหญ่ของผู้บริโภค โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ Chi-Square test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ชอบกลิ่นของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรหนอนตายหยากมากที่สุด รองลงมาคือ ความชุ่มชื่นต่อผิว การซึมซาบผ่านผิวหนัง สำหรับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อผลิตภัณฑ์โลชั่นอยู่ในระดับพึงพอใจมาก พฤติกรรมและแนวโน้มในการใช้ผลิตภัณฑ์ พบว่าอาสาสมัครชอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อโลชั่น มากกว่าลักษณะอื่น ๆ รู้จักตัวสินค้าจากการรีวิวผ่านสื่อออนไลน์และสั่งผ่านสื่อออนไลน์เช่นกัน ซึ่งการศึกษานี้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทยและเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริมของคนในชุมชนได้หากสมุนไพรนี้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสามารถขยายผลต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ และผู้ประกอบการสามารถใช้เพื่อวางแผนการตลาดในอนาคตต่อไป</p> สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, กัญทร ยินเจริญ, ทิยานันท์ ปานิตย์เศรษฐ์, รัตนีกรณ์ นาคปลัด, นพดล ชูเศษ, ศรินทร์รัตน์ จิตจำ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268259 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบกระท่อมต่อเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268432 <p>กระท่อม (<em>Mitragyna speciosa</em> Korth) เป็นสมุนไพรที่ชาวบ้านนิยมบริโภคโดยนำใบสดมาเคี้ยว และมีการใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ กระท่อมมีสารพฤกษเคมีหลายกลุ่มซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ (<em>Streptococcus mutans</em>) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ ที่ยังคงเป็นปัญหาและพบมากในปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสารพฤกษเคมี และประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบกระท่อมต่อ<em>S. mutans</em> ATCC 25175 ซึ่งเป็นเชื้อโรคในช่องปากที่โดดเด่นในโรคฟันผุ โดยสกัดใบกระท่อมด้วยเอทานอล จากนั้นนำสารสกัดใบกระท่อมไปทดสอบกลุ่มสารพฤกษเคมี และทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อเพื่อหาค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ (MIC) และหาค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ (MBC) ด้วยวิธี Broth dilutionและทดสอบผลของสารสกัดต่อการลดลงของค่า pH จากเชื้อ <em>S.mutan</em>s ด้วยวิธี Glycolytic pH drop ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดใบกระท่อมมีสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ เทอร์พีนอยด์ สารประกอบฟีนอลิก และแทนนินพบว่าสารสกัดใบกระท่อมมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ <em>S. mutans</em> ATCC 25175 มีค่า MIC เท่ากับ 3.125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีค่า MBC เท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และผลของสารสกัดต่อการลดลงของค่า pH พบว่าที่ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลดีที่สุดต่อการลดการผลิตกรดของเชื้อ <em>S. mutans</em>มีอัตราการลดลงของค่า pH เหลือ 0.026 หน่วยต่อนาที การศึกษานี้บ่งชี้ว่าสารสกัดใบกระท่อมในชั้นเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อ<em> S. mutans</em> เป็นเชื้อก่อฟันผุ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันฟันผุในอนาคต</p> ปาริชาติ อ้นองอาจ, กัมปนาท คำสุข, รัฐศาสตร์ เด่นชัย, ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง, วราภรณ์ มหาทรัพย์, ณลิตา ไพบูลย์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268432 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำและเอทานอล ของตำรับสมุนไพรไทย "ยานึ่งท้อง" https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268559 <p>ตำรับยานึ่งท้องเป็นตำรับยาที่ใช้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดที่ถูกระบุอยู่ในคัมภีร์แพทย์ไทย แผนโบราณ มีสรรพคุณในการขับน้ำคาวปลา บรรเทาอาการปวดมดลูก และช่วยให้หน้าท้องยุบเร็วขึ้น ซึ่งมีทั้งรูปแบบผสมน้ำและสุรา ในการศึกษาครั้งนี้จึงทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำและเอทานอลของตำรับ "ยานึ่งท้อง" ด้วยวิธี DPPH และ ABTS และศึกษาองค์ประกอบทางพฤษเคมีโดยวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟินอลิกและฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดน้ำและเอทานอล จากการศึกษาพบว่าสารสกัดเอทานอลตำรับยานึ่งท้องมีร้อยละของสารที่สกัดได้มากกว่าสารสกัดน้ำ และพบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดเอทานอลตำรับยานึ่งท้องมีค่าเท่ากับ 7.9 ± 0.3 มิลลิกรัมของกรด แกลลิก/100 กรัมของสารสกัด และ 5.6 ± 0.3 มิลลิกรัมของแคทีชิน/100 กรัมของสารสกัดซึ่งมีปริมาณสูงกว่าสารสกัดน้ำตำรับยานึ่งท้อง นอกจากนี้การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS ของสารสกัดตำรับยานึ่งท้องพบว่าค่า IC<sub>50</sub> ของสารสกัดเอทานอลที่ทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS มีค่าเท่ากับ 1.118 ± 0.125 และ 0.371 ± 0.013 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในการศึกษานี้สรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลมีปริมาณร้อยละของสารสกัดที่ได้ ค่า IC<sub>50</sub> และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมสูงกว่าสารสกัดน้ำของตำรับยานึ่งท้อง</p> พริมา ทองวิเชียร, ภัทรศศิร์ เหล่าจีนวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268559 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของกรรมวิธีการแปรรูปหญ้ารีแพร์ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269123 <p>หญ้ารีแพร์หรือหญ้าฮียุ่มเป็นพืชที่มีประวัติการใช้ในทางการแพทย์แผนไทยเนื่องด้วยคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูและช่วยบำรุงผิวพรรณและร่างกายโดยวิธีการใช้ตามโบราณมีทั้งการใช้ภายนอกและการต้มรับประทานอย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษามาก่อนว่าการแปรรูปหญ้ารีแพร์ด้วยวิธีที่แตกต่างกันก่อนนำมาใช้งานให้ปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพแตกต่างกันหรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำหญ้ารีแพร์มาแปรรูปด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน จำนวน 4 แบบ ได้แก่ การผึ่งลม การอบแห้ง การย่างไฟ และการคั่ว จากนั้นศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ผลการศึกษาพบว่าหญ้ารีแพร์ที่แปรรูปด้วยวิธีผึ่งลม อบแห้ง ย่างไฟ และคั่ว มีปริมาณฟีนอลิกเทียบเท่ากับกรดแกลลิก 22.07±8.10, 28.50±2.86, 92.12±5.33 และ 121.39±2.57µg (µg GAE/g dry weight) ตามลำดับ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH มีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 50% (the half maximal inhibitory concentration; IC<sub>50</sub>)เท่ากับ 167.47±21.58, 122.47±8.73, 78.81±13.75 และ 62.63±8.33 mg/ml ตามลำดับ และวิธี ABTS มีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 375.33±69.93, 238.50±16.57,115.19±4.26 และ 113.69±7.86 mg/ml ตามลำดับผลการศึกษาพบว่าหญ้ารีแพร์ที่แปรรูปด้วยวิธีการคั่วมีปริมาณกลุ่มฟีนอลิกที่สูงกว่าและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่าการเตรียมรูปแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพในอนาคต</p> ยลดา ศรีเศรษฐ์, กาญจนาพร พรมโสภา, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, วรินท์ โอนอ่อน, จรินยา ขุนทะวาด, ฉัตรชนก นุกูลกิจ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269123 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดตำรับเกสรทั้งห้าที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบในระดับหลอดทดลอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269126 <p style="font-weight: 400;">ตำรับเกสรทั้งห้าประกอบด้วยสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยชะลอความชราของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังคงความชุ่มชื้นไว้ได้ แต่ยังไม่พบรายงานว่ามีเวชสำอางจากตำรับเกสรทั้งห้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโลชั่นจากสารสกัดเกสรทั้งห้าที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ โดยสารสกัดส่วนเอทานอลของเกสรทั้งห้าถูกนำมาประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS และ DPPH และฤทธิ์ต้านการอักเสบผ่านการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide, NO) ด้วยวิธี Griess จากนั้นสารสกัดจะถูกนำมาพัฒนาเป็นโลชั่น ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดเกสรทั้งห้ามีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS<sup>•+</sup> และ DPPH<sup>• </sup> ที่สูง โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.09±0.01 และ 0.05±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และมีความสามารถในการยับยั้งการสร้าง NO โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.07±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำสารสกัดมาพัฒนาสูตรโลชั่นที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.01, 0.10 และ 0.50 โดยน้ำหนัก จะศึกษาความคงตัวของโลชั่นสมุนไพรด้วยวิธีการทดสอบในสภาวะเร่ง (heat-cool cycling method) และประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของโลชั่นสมุนไพร พบว่า โลชั่นทุกสูตรมีความคงตัวดี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและทางเคมี ยิ่งไปกว่านั้นโลชั่นสมุนไพรทุกสูตรมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการสร้าง NO ดังนั้นโลชั่นจากสารสกัดเกสรทั้งห้าความเข้มข้นร้อยละ 0.01, 0.10 และ 0.50 โดยน้ำหนัก จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โลชั่น/ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบต่อไป</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> พชิราวัลย์ อ่อนละมุล, ฉัตรชนก นุกูลกิจ, วรินท์ โอนอ่อน, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, จรินยา ขุนทะวาด, ยลดา ศรีเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269126 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภูมิปัญญาการนวดขิดเส้นพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษานายณรงค์ สิทธิสงคราม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269067 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมและวิเคราะห์กระบวนการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาการนวดพื้นบ้านอีสานด้านการนวดขิดเส้นของ นายณรงค์ สิทธิสงคราม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีการรักษามาตั้งแต่อดีต โดยการสั่งสมประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการถามตอบ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารและแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ</p> <p>จากการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาการนวดขิดเส้นของนายณรงค์ สิทธิสงคราม ได้รับการสืบทอดมาจากมารดา ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นประสบการณ์ จนเกิดเป็นความชำนาญในการรักษา โดยมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การนวดพื้นฐาน คือ การคลายกล้ามเนื้อในบริเวณที่อาการตึง จม และตีบ 2) การขิดเส้น คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือ ส้นมือ ปลายศอก และส้นเท้า ในการเขี่ย ผลัก ขยับเส้น และ 3) การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำหลังการรักษาเพื่อช่วยในการปรับสมดุลให้ร่างกาย นายณรงค์ สิทธิสงคราม มีกระบวนในการรักษาโรค/อาการด้วยเทคนิคการนวดขิดเส้น ทั้งหมด 6 อาการ ได้แก่ ไมเกรน ไหล่ติด สะบักจม สลักเพชร ข้อเท้าแพลง จับโปงน้ำเข่าและจับโปงแห้งเข่า</p> <p>เมื่อวิเคราะห์กระบวนการรักษาด้วยวิธีการนวดขิดเส้น พบว่า มีจุดและแนวเส้นสัมพันธ์กับการนวดไทยแบบราชสำนัก การนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (เชลยศักดิ์) ด้วยการผสมผสานความรู้ในด้านการนวดขิดเส้นที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จนเกิดเป็นเทคนิคเฉพาะตัวและทำการรักษามาจนถึงปัจจุบัน</p> กัญจนภรณ์ ธงทอง, นันทิกานต์ พิลาวัลย์, เขมมิกา คำแปล, กนกพร ลีละครจันทร์, เพชรรัตน์ รัตนชมภู, ศิรินทิพย์ พรมเสนสา, ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/269067 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพร 10 ตำรับของโรงพยาบาล การแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268875 <p>การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในตำรับยาสมุนไพร 10 ตำรับ ของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บสุภัทโท โลหะหนักที่ทำการศึกษาได้แก่ ตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd) สารหนู (As) , และปรอท (Hg) ตัวอย่างตำรับยาสมุนไพรได้แก่ ยาเถาวัลย์เปรียง ยาประสะเจตพังคี ยาสหัศธารา ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาหอมนวโกฐ ยาประสะจันทน์แดง ยากษัยเส้น ยาหอมเทพจิตรยาขมิ้นชัน และยาว่านชักมดลูก ปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 0.25 กรัม สารละลายผสมระหว่างกรดไนตริก 65% โดยปริมาตร และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 35% ในอัตราส่วน 2:1 ทำการย่อยตัวอย่างโดยวิธี การย่อยเปียก (Wet digestion) จากนั้นนำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง Atomic absorption spectrophotometer (AAS) โดยใช้เทคนิค Flame atomization วิเคราะห์แคดเมียมเทคนิค Graphite furnace วิเคราะห์สารหนูกับตะกั่ว และวิเคราะห์ปริมาณปรอทด้วยเทคนิค Mercuryvaporunit จากผลการทดลอง พบว่า ในตำรับยาสมุนไพรทั้ง 10 ตำรับมีปริมาณโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และปรอท ที่ตรวจพบไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยปี พ.ศ. 2563 (Thai herbal pharmacopoeia, 2020) และองค์การอนามัยโลก (World health organization) กำหนด จึงเห็นได้ว่าตำรับยาสมุนไพรเหล่านี้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค</p> กุลฉัตร ยินดีมาก, อนุสรา ชมภู, จรินยา ขุนทะวาด, วรินท์ โอนอ่อน, ยลดา ศรีเศรษฐ์, ภัทรานิษฐ์ คำแผ่นจิรโรจน์, ศิรินทิพย์ พรมเสนสา, ฉัตรชนก นุกูลกิจ, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน Copyright (c) 2024 วารสารหมอยาไทยวิจัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/268875 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700