https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/issue/feed วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2024-04-30T15:26:21+07:00 พญ.สุกัญญา ภัยหลีกลี้ udh.medicaljournal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและค้นคว้าวิชาแพทย์ บทความฟื้นวิชา การบรรยายพิเศษ รายงานผู้ที่เป็นที่น่าสนใจ เป็นต้น ยินดีรับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน กำหนดออกวารสาร ราย 4 เดือน (มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม)</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269020 การรักษาคลองรากฟันในฟันตัดกลางบนที่มี 2 ราก (ความยุ่งยากซับซ้อนในการหาทางเข้าสู่คลองราก) 2024-04-30T13:52:13+07:00 นิสาลักษณ์ ศิริมงคลกิจ udh.medicaljournal@gmail.com <p>วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการรักษาคลองรากฟันคือ กำจัดการติดเชื้อ รักษาการอักเสบ ลดอาการเจ็บปวด เพื่อเก็บรักษาฟันไว้ใช้งาน ความรู้ความเข้าใจในลักษณะทางทันตกายวิภาคของฟันแต่ละซี่ทั้งภายนอกและภายใน จะส่งผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการรักษา ระบบคลองรากฟันที่มีความซับซ้อน หลากหลายจะนำไปสู่ความล้มเหลวในการรักษาได้ เป็นที่ทราบดีว่าฟันตัดกลางบนเป็นฟันที่มี 1 รากและ 1 คลองรากฟัน แต่ปัจจุบันเริ่มมีรายงานพบความผันแปรทางทันตกายวิภาคของฟันซี่นี้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทราบกันมา บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษารากฟันในฟันตัดกลางบน 2 ราก ที่มีลักษณะตัวฟันปกติ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่พบได้น้อย &nbsp;ต้องใช้ความรู้และความละเอียดรอบคอบในการอ่านภาพถ่ายรังสี รวมทั้งมีความยุ่งยากซับซ้อนในการหาทางเข้าสู่คลองรากฟันที่ 2 โดยไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรากฟัน เพื่อจะใส่เครื่องมือเข้าไปดำเนินการรักษา ตั้งแต่ทำความสะอาดและแต่งรูปร่างของคลองรากให้เหมาะสมเพื่อการอุดคลองรากฟัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการรักษาต่อไป</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269022 รายงานผู้ป่วย: การผ่าตัดเพิ่มความสูงของฟันหน้าบนเพื่อความสวยงาม 2024-04-30T14:06:35+07:00 นิรมล พงษ์ไทย udh.medicaljournal@gmail.com <p>ในปัจจุบันงานทันตกรรมเพื่อความสวยงามมีบทบาทอย่างยิ่งในการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมหนึ่งในปัญหาที่ผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์บ่อยครั้งคือ การยิ้มเห็นเหงือกมากเกินไป อยากให้ฟันดูยาวขึ้น ไม่มั่นใจในรอยยิ้มของตนเอง ภาวะมีเหงือกมากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ &nbsp;เช่น การเคลื่อนของเหงือกไม่สมบูรณ์ภายหลังฟันขึ้น ภาวะความสูงเกินของขากรรไกรบน การทำงานของกล้ามเนื้อยกริมฝีปากมากเกินไป เป็นต้น <sup>&nbsp;</sup>ดังนั้นการวินิจฉัยและวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่แท้จริง มีความสำคัญในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษา</p> <p>รายงานผู้ป่วยฉบับนี้ได้นำเสนอวิธีการวินิจฉัย วิธีการรักษาและปัจจัยที่อาจมีผลต่อการวางแผนรักษาวิธีการศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความสูงของฟันหน้าบนในผู้ป่วยชายไทยอายุ 25 ปี มาปรึกษาด้วยอาการรู้สึกว่าฟันสั้นเกินไป อยากให้ฟันดูยาวขึ้น จากการตรวจในช่องปากพบว่าคนไข้มีการเคลื่อนของเหงือกไม่สมบูรณ์ภายหลังฟันขึ้น ทำให้เกิดภาวะยิ้มเห็นเหงือก จึงวางแผนแก้ไขด้วยวิธีผ่าตัดเพิ่มความสูงเพื่อความสวยงาม และติดตามผลที่เวลา1, 3 และ 6 เดือนตามลำดับ ซึ่งผลการผ่าตัดผู้ป่วยพึงพอใจ มีความมั่นใจในรอยยิ้มมากขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269024 การพยาบาลการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดต่อมธัยมัสในผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนียเกรวิส: กรณีศึกษา 2024-04-30T14:17:58+07:00 ศิริวรรณ อาจบุราย udh.medicaljournal@gmail.com ณรงค์กร ชัยวงศ์ udh.medicaljournal@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การผ่าตัดต่อมธัยมัส (Thymectomy) เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนียเกรวิส (Myasthenia gravis) บทบาทพยาบาลวิสัญญีในการให้การระงับความรู้สึกผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความซับซ้อนและมีความสำคัญเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยด้านร่างกาย จิตใจ การเตรียมและจัดหาอุปกรณ์เฝ้าระวังในการให้ยาระงับความรู้สึก และหลังผ่าตัดการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน การระงับปวดที่มีประสิทธิภาพเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิตและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิตต่อไป บทความนี้เป็นการศึกษาข้อมูลรายกรณี (case study) มีวัตถุประสงค์ &nbsp;เพื่อศึกษาปัญหาและให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนียเกรวิสที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดต่อมธัยมัส กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี แผนกศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ผู้ป่วย 1 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดในเดือนกันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย 2) แบบบันทึกการประเมินแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนและ 3) แบบบันทึกการแผนการพยาบาล</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 37 ปี แพทย์วินิจฉัยโรค generalized Myasthenia gravis Stage 2B &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มาตามนัดเพื่อผ่าตัดต่อมธัยมัสโดยการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง แบ่งการดูแลด้านการพยาบาลวิสัญญีออกเป็น&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3 ระยะ คือ ระยะก่อน ระหว่าง และหลังให้ยาระงับความรู้สึก ในระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยพบปัญหา ดังนี้ 1) วิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการให้ยาระงับความรู้สึก 2) มีโอกาสเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน เนื่องจากงดยากดภูมิคุ้มกันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ปัญหาในระหว่างระงับความรู้สึก ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อภาวะช่วยหายใจและใส่ท่อช่วยหายใจยาก เนื่องจากความผิดปกติทางสรีระของผู้ป่วย 2) เสี่ยงต่อภาวะหลอดลมหดเกร็งเฉียบพลัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหย่อนตัวไม่ดีพอ 3) มีโอกาสเกิดการภาวะตื่น (awareness) ขณะผ่าตัดเนื่องจากร่างกายมีการตอบสนองต่อยาหย่อนกล้ามเนื้อไม่แน่นอน 4) เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัด และปัญหาที่พบระยะหลังให้ยาระงับความรู้สึก ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อภาวะการหายใจไม่มีประสิทธิภาพภายหลังผ่าตัด 2) มีโอกาสเกิดการหายใจไม่เพียงพอภายหลังถอดท่อช่วยหายใจ 3) ไม่สุขสบายปวดแผลผ่าตัดบริเวณหน้าอก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การประเมินผลหลังให้การพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด ความวิตกกังวลลดลง มีความพร้อมในการผ่าตัดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขณะผ่าตัดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน สัญญาณชีพคงที่ ส่วนระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ เนื่องจากแบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ โดยหายใจตื้นและช้าจากการปวดแผลผ่าตัด ได้รับการแก้ไขปัญหาโดยการจัดการความปวดแบบผสมผสานและสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ อาการดีขึ้นจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 10 วัน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269001 การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง 2024-04-30T10:39:41+07:00 กาญจนา ปัญญาธร udh.medicaljournal@gmail.com ณัฐวรรณ ไชยมีเขียว udh.medicaljournal@gmail.com รวีวรรณ เผ่ากัณหา udh.medicaljournal@gmail.com จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ udh.medicaljournal@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงและผลลัพธ์ของการพัฒนา ดำเนินการในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมือง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 ถึงพฤษภาคม 2565 ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เป็นแกนนำสุขภาพครอบครัว 30 คนและแกนนำสุขภาพชุมชน 27 คน รวม 57 คน และผู้ให้ข้อมูลรองเป็นผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง 30 คน รวมทั้งสิ้น 87 คน กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ คือ การวางแผนกระบวนการพัฒนา การสังเกตผลและการสะท้อนกลับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา paired T- test และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย สถานการณ์ผู้ป่วยติดเตียงมีข้อติดร้อยละ 23.33 แผลกดทับร้อยละ 13.33 การดูแลของครอบครัวผู้ดูแลขาดความรู้ ขาดทักษะการดูแลและขาดอุปกรณ์จำเป็น ขาดคนช่วยเหลือและการจัดสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม การดูแลของชุมชนโดยบริบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนกิจกรรมมีความทับซ้อนกัน ครอบครัวหวังพึ่งชุมชนไม่พึ่งตนเอง ได้แนวทางการพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การประเมินปัญหา การประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติและ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเยี่ยมบ้านและการพัฒนาแกนนำสุขภาพชุมชน ประกอบด้วย การฝึกวิเคราะห์ปัญหา เขียนโครงการ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สร้างข้อตกลงของชุมชนและการเยี่ยมบ้าน&nbsp; ผลลัพธ์ของการพัฒนา แกนนำสุขภาพครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 20.00±0.71 หลังพัฒนาx̄= 26.53±1.41) และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 25.67±0.41 และหลังพัฒนา x̄= 32.80 ±0.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹ 0.01) ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น แกนนำสุขภาพชุมชนมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นด้านการวิเคราะห์ปัญหา การเขียนโครงการ เกิดข้อตกลงของชุมชนและเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอย่างต่อเนื่องทุกปี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ทีมสหวิชาชีพและเสริมสร้างความมีจิตอาสาของคนในชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269005 ผลของการให้ยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังที่บ้านแก่ผู้ป่วยระยะท้ายโดยใช้ Opioids box : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2024-04-30T11:42:37+07:00 วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ udh.medicaljournal@gmail.com <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้ามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังที่บ้านโดยใช้ Opioids box ก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 49 รายที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System ฉบับภาษาไทย และแบบบันทึก (drug related problems : DRPs) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired T-test</p> <p>ผลการวิจัย ผู้ป่วยระยะท้ายส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี(ร้อยละ 61.12) โรคหลัก 3 อันดับแรกเป็นมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 16.33 มะเร็งปอด ร้อยละ 12.25 และติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 12.25 พบปัญหาจากการใช้ยา 12 ราย ร้อยละ 24.49 ได้แก่ การใช้ยาไม่ตรงตามแพทย์สั่ง (ร้อยละ 33.33) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา (ร้อยละ 25.00) การใช้ยาในขนาดต่ำ (ร้อยละ 16.67) การเกิดอันตรกิริยาของยากับสมุนไพร (ร้อยละ 16.67) และ การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 8.33) ส่งผลให้ไม่ได้ผลจากการรักษา (ร้อยละ 66.67) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยา (ร้อยละ 33.33) &nbsp;วิธีการจัดการปัญหาได้แก่การให้คำแนะนำการใช้ยา ทวนสอบวิธีการบริหารยามอร์ฟีน ประสานรายการยา และใช้สื่อความรู้ด้านยา ผลลัพธ์ทางคลินิกเปรียบเทียบก่อนและหลังเยี่ยมบ้าน 72 ชั่วโมงพบว่าอาการทางคลินิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปวด เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิตกกังวล ง่วงซึม/สะลึมสะลือ เบื่ออาหาร &nbsp;&nbsp;สบายดีทั้งกายใจและเหนื่อยหอบ (p-value &lt; 0.001 ทุกรายการ) ส่วนอาการซึมเศร้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.139) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประหยัดเวลาเดินทางมาโรงพยาบาลมากกว่า 240 นาที ร้อยละ 48.98 ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า 300 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 55.10</p> <p><strong>สรุป</strong> การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะท้ายที่ใช้ยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังโดยใช้ Opioids box ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269006 ผลการให้ Tranexamic Acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่ากับการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวในการลดการสูญเสียเลือดภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 2024-04-30T11:49:16+07:00 เสกสรรค์ คลังสมบัติ udh.medicaljournal@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารยา Tranexamic acid ให้ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่ากับการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวในการลดปริมาณการสูญเสียเลือดภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลวานรนิวาส กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2565 &nbsp;แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ให้ Tranexamic acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่าและกลุ่มควบคุมที่ให้ทางหลอดเลือดดำทางเดียว สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ตัวอย่างกลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด (calculated blood loss) ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent T-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>พบว่าคุณลักษณะของตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ดังนี้ เป็นเพศหญิงทั้งหมดทั้งสองกลุ่ม อายุเฉลี่ย 65.32±7.39 ปีและ 65.56±6.91 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.12±4.69 kg/m<sup>2</sup> และ 25.07±4.20 kg/m<sup>2</sup> มีโรคประจำตัวร้อยละ 72.00 และร้อยละ 60.00 ASA classification II ร้อยละ 72.00 และร้อยละ 60.00 ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 120.0±5.77 นาทีและ 122.40±12.34 นาที ระยะเวลาที่ใช้สายรัดห้ามเลือดเฉลี่ย 120.0±5.77 นาทีและ 123.60±13.50 นาที ความเข้มข้นเลือดก่อนผ่าตัดเฉลี่ยเท่ากับ 35.96±4.15% และ 35.52±3.23% ตามลำดับ ผลลัพธ์การผ่าตัดพบว่ากลุ่มทดลองสูญเสียเลือดใน 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ( =215.76±146.88 ml และ =217.27 ml±145.81 ml) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ( =422.53±222.09 ml และ =422.53±222.09 ml) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001 และ p&lt;0.001 ตามลำดับ) โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีการให้เลือด 1 ยูนิต ร้อยละ 8.00 แต่ในกลุ่มควบคุมมีการให้เลือด 1 ยูนิต ร้อยละ 44.00 แต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งสองกลุ่ม</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong> การให้ Tranexamic acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่าสามารถลดการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัดข้อเข่าเทียมดีกว่าให้ทางหลอดเลือดดำเพียงทางเดียว</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269010 ผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น 2024-04-30T12:11:58+07:00 สุภาพักตร์ หาญกล้า udh.medicaljournal@gmail.com สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล udh.medicaljournal@gmail.com นงนุช บุญมาลา udh.medicaljournal@gmail.com อัญชลี อ้วนแก้ว udh.medicaljournal@gmail.com กัตติกา วังทะพันธ์ udh.medicaljournal@gmail.com วรนุช ไชยวาน udh.medicaljournal@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติของวัยรุ่นที่มีผลต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และเพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มีต่อความรู้และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นนักเรียนที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบตามกำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 58 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวน 8 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 3) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 4) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 5) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired T-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 58 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.1 อายุอยู่ระหว่าง 14-16 ปี มีแฟนแล้วร้อยละ 44.8 และเคยใช้วิธีการคุมกำเนิดร้อยละ 32.8 ก่อนการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และทัศนคติต่อการคุมกำเนิด ก่อนและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.006 สรุปให้เห็นว่ากิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สามารถพัฒนาความรู้เรื่องการคุมกำเนิดได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269014 การใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ 2024-04-30T13:03:58+07:00 วิทยา ไชยจันพรม udh.medicaljournal@gmail.com ทศพร ทองย้อย udh.medicaljournal@gmail.com มลินา ปฐมเจริญสุขชัย udh.medicaljournal@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แพทย์ พยาบาล และทีมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ Paperless จำนวน 38 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ระบบ paperless และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรผู้ใช้งานระบบ paperless จำนวน 38 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.58 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 97.37 มีประสบการณ์ในการใช้งานระบบ paperless ส่วนใหญ่อยู่ที่ระยะเวลา 12 – 18 เดือน ร้อยละ 71.05 การใช้ระบบ paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อช่วยทำให้การทำงานและการดูแลผู้ป่วยนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย 2) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสารข้อมูลผู้ป่วย 3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลของผู้ป่วย 4) ช่วยให้เกิดความประหยัดในด้านวัสดุอุปกรณ์ และ 5) ช่วยลดความผิดพลาดในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อต่อไป ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่อไปในอนาคต เพื่อการให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269013 ประสิทธิผลของการใช้ส่วนผสมของยา Ketamine กับ Propofol เปรียบเทียบกับ Propofol ในการใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงชนิด I-gel เพื่อระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ 2024-04-30T12:54:58+07:00 วรนันท์ มุกนำพร udh.medicaljournal@gmail.com <p>การให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไปโดยการใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงมีมากขึ้น ขนาดของยา Propofol ที่ช่วยลดปฏิกิริยาต่อต้านของทางเดินหายใจส่วนบน มักทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยา Ketofol (Ketamine ขนาด</p> <p>0.75 mg/kg ร่วมกับ Propofol 1.5 mg/kg, Ketamine-Propofol) เปรียบเทียบกับ Propofol 1.5 mg/kg ในการระงับความรู้สึกโดยการใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงชนิด I-gel ในผู้ป่วยสูงอายุ รูปแบบการวิจัยแบบสุ่ม</p> <p>ชนิดมีกลุ่มควบคุม (prospective randomized controlled trial) ในผู้ป่วยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี</p> <p>มี ASA status 2-3 เข้ารับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปโดยการใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงชนิด I-gel Laryngeal mask airway (LMA) ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับ Ketofol (Ketamine 0.75 mg/kg ร่วมกับ Propofol 1.5 mg/kg) และกลุ่มควบคุม ได้รับ Propofol 1.5 mg/kg บันทึกการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ประเมินความยากง่ายในการใส่โดยวิสัญญีพยาบาลที่ไม่ทราบชนิดของยาที่ใช้ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างใส่และหลังระงับความรู้สึกที่ห้องพักฟื้นและภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ Chi-square, Fisher exact test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา</strong> ผู้สูงอายุเข้าร่วมวิจัย 51 ราย เป็นกลุ่ม Ketofol 27 ราย และ กลุ่ม Propofol 24 ราย เปรียบเทียบอายุ&nbsp; ASA status ชนิดการผ่าตัด สัญญาณชีพ ระหว่าง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน พบอัตราการเต้นของหัวใจต่ำลงและความดันโลหิตต่ำลงไม่ต่างกัน คะแนนในการใส่ LMA ไม่ต่างกัน (p=0.461) ทั้งนี้พบผู้ป่วยฝันร้าย 2 ราย และมีภาวะหลอน 1 ราย ในกลุ่ม Ketofol</p> <p><strong>สรุป </strong>การใช้ Ketofol ทำให้การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ, คะแนนการจัดการทางเดินหายใจในการใส่ หน้ากากครอบกล่องเสียงในผู้สูงอายุไม่ต่างกันกับ Propofol แต่กลุ่ม Ketofol พบผู้ป่วยฝันร้ายและมีภาวะหลอน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269016 ความชุก อัตราการป่วยตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลบึงกาฬ 2024-04-30T13:16:22+07:00 ปรีเปรม ศรีหล่มศักดิ์ udh.medicaljournal@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนาแบบบันทึกข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study)เพื่อศึกษาความชุก (Prevalence rate) ของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ วิธีการรักษาอัตราการเสียชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 1 ปี หลังเกิดภาวะกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบึงกาฬแบบผู้ป่วยใน ศึกษาในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลบึงกาฬและได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกข้อสะโพกหัก มีรหัส ICD10 S7200-S7220 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 250 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ HOS-XP, ระบบฐานข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีของโรงพยาบาลบึงกาฬ สืบค้นข้อมูลการเสียชีวิตจากสำนักงานทะเบียนราษฎร์เทศบาลเมืองบึงกาฬ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยวใช้ Chi-square test และ Fisher’s exact testหาปัจจัยที่มีผลต่อการตายภายใน 1 ปี ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุนาม (Multivariate logistic regression) รายงานความสัมพันธ์เป็นค่าอัตราส่วนแต้มต่อ (odds ratio) ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% Confidence Interval) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับp&lt;0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป IBMSPSS Statistics version 20</p> <p>ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 250 คน คิดเป็นความชุกของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 จำแนกรายปี คิดเป็น 100.47, 67.92, 84.86, 100.19, 96.08 ต่อ 100,000 ประชากร ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.40 อายุเฉลี่ย 76.76± 8.80 ปี ตำแหน่งที่หักแบ่งเป็นกระดูกต้นขาส่วนต้นร้อยละ 58.40 กระดูกต้นขาส่วนคอร้อยละ 41.60 เสียชีวิตหลังจากกระดูกข้อสะโพกหักภายใน 1 ปี 58 ราย(ร้อยละ 23.20) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตหลังเกิดภาวะกระดูกข้อสะโพกหักใน 1 ปี ในผู้สูงอายุ คือ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี (AOR 2.35, 95%CI 1.28-4.32; p=0.006) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินเองได้ก่อนล้ม (AOR 2.59, 95%CI 1.22-5.50; p=0.013) ได้รับการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด (AOR 3.61, 95%CI 1.47-8.86; p=0.005) มีโรคประจำตัวเป็นต่อมลูกหมากโต (AOR 0.26, 95%CI 0.07-1.06; p=0.043) ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลนานกว่า 7 วัน (AOR 2.41, 95%CI 1.51-3.84; p&lt;0.001)ภาวะแทรกซ้อนขณะนอนโรงพยาบาลด้วยอาการเพ้อ สับสน (AOR 2.57, 95%CI 1.30-5.11; p=0.007)</p> <p>สรุป ความชุกของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 จำแนกรายปี คิดเป็น 100.47, 67.92, 84.86, 100.19, 96.08 ต่อ 100,000 ประชากร ตามลำดับ อัตราการป่วยตายใน 1 ปี ร้อยละ 23.20 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 1 ปี คือ อายุมากกว่า 80 ปี ไม่สามารถเดินเองได้ก่อนล้ม การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด มีโรคประจำตัวเป็นโรคต่อมลูกหมากโต มีภาวะเพ้อสับสนขณะนอนโรงพยาบาลและนอนโรงพยาบาลนานกว่า 7 วัน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269017 สาเหตุของภาวะปวดท้องเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กที่มานอนรักษาและสังเกตอาการในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2024-04-30T13:22:25+07:00 วิทยาธร พรศิริประทาน udh.medicaljournal@gmail.com <p>ภาวะปวดท้องเฉียบพลันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก สาเหตุเป็นได้หลากหลายตั้งแต่ภาวะที่ไม่รุนแรงและหายได้เองไปจนถึงโรคทางศัลยกรรมที่อันตรายถึงชีวิต เช่นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการปวดท้องค่อนข้างรุนแรงและยังไม่ทราบคำวินิจฉัยแน่ชัดในตอนแรกมักจำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาและสังเกตอาการ การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของภาวะปวดท้องเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็ก ทำการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กอายุ 2 ถึง 15 ปีที่มีอาการสำคัญคืออาการปวดท้องที่มีระยะเวลาของการปวดน้อยกว่า 7 วันและมานอนรักษาและสังเกตอาการในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า ใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา จากข้อมูลย้อนหลัง 7 ปีพบผู้ป่วยทั้งหมด 269 คน อายุเฉลี่ย 8.0 ปี ร้อยละ 51.3 เป็นเพศชาย ตำแหน่งปวดท้องที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณรอบสะดือ ร้อยละ 37.2 สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ร้อยละ 53.2 รองลงมาคือภาวะท้องผูก ร้อยละ 17.1 พบภาวะปวดท้องไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ร้อยละ 13.0 พบโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร้อยละ 8.9 ผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการปวดท้องนาน 1-2 วันพบสาเหตุจากโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันมากกว่ากลุ่มที่มีอาการปวดท้องนาน 3-6 วัน (ร้อยละ 59.3 และ 38.8, p=0.002) ในขณะที่กลุ่มที่มีอาการปวดท้องนาน 3-6 วันพบสาเหตุจากภาวะท้องผูกและภาวะปวดท้องไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดมากกว่ากลุ่มที่มีอาการปวดท้องนาน 1-2 วัน (ร้อยละ 27.5 และ 12.7, p=0.003 และร้อยละ 20.0 และ 10.1, p=0.027 ตามลำดับ) ผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการปวดบริเวณด้านขวาล่างพบสาเหตุจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันมากกว่ากลุ่มที่มีอาการปวดบริเวณรอบสะดือ (ร้อยละ 33.3 และ 13.0, p=0.031)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุปการศึกษา ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะปวดท้องเฉียบพลันที่มานอนรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพบสาเหตุจากโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันได้บ่อยที่สุด ร้อยละ 53.2 และพบว่าระยะเวลาที่ปวดท้องมีความสัมพันธ์กับสาเหตุจากโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ภาวะท้องผูก และภาวะปวดท้องไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ในขณะที่ตำแหน่งที่ปวดบริเวณด้านขวาล่างมีความสัมพันธ์กับสาเหตุจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269018 สัดส่วนประชากรวัยทำงาน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 2024-04-30T13:31:45+07:00 อรพรรณ ชัยมณี udh.medicaljournal@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนประชากรวัยทำงาน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และลักษณะโรคและการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี พศ. 2561 – 2564 โดยนำข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่เข้ามานอนพักรับการรักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564&nbsp; จำนวน 79,574 คน เป็นผู้ป่วยวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) จำนวน 34,803 คน วิเคราะห์แนวโน้มสัดส่วนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีของประชากรวัยทำงานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้ามานอนพักรับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยวัยทำงานกับลักษณะโรคและการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้สถิติ Chi-square</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>จากฐานข้อมูลผู้ป่วยวัยทำงานทั้งหมด 34,803 คน พบว่า โรคของระบบทางเดินหายใจเป็นโรคหลักที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุด เมื่อแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ป่วยวัยทำงานมีจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 43.7 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มสัดส่วนการเข้ามานอนพักรักษาของประชากรวัยทำงานในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในช่วงปี พศ. 2561-2564 พบว่ามีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบการนอนพักรักษาด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบและหลอดเลือดสมองตีบมากที่สุด และพบว่า ผู้ป่วยวัยทำงานเข้ารับการรักษาด้วยโรคหลัก ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ปอดติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อโควิด 19 และไข้เลือดออกสูงกว่าผู้ป่วยวัยเด็กและผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความแตกต่างของการเข้ารับการรักษาด้วยหลอดเลือดสมองตีบและไตวายในผู้ป่วยวัยทำงานกับวัยเด็กและผู้สูงอายุ</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>สรุป: </strong>ผู้ป่วยวัยทำงานมีสัดส่วนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มคนวัยทำงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบและไตวาย ควรรณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้อในสถานที่ทำงานเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/269019 อัตราการรอดชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อที่ได้รับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอุดรธานี 2024-04-30T13:42:50+07:00 วรวิทย์ อินทนู udh.medicaljournal@gmail.com <p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีพใน 1 ปี และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ติดตามผู้ป่วยทุกรายอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทราบสถานะสุดท้ายของชีวิตเป็นเวลา 1 ปี กลุ่มตัวอย่าง 105 ราย รวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ข้อมูลการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ข้อมูลการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม และการฟอกเลือดระหว่างการผ่าตัด (Ultrafiltration) และผลลัพธ์หลังการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยสถิติ &nbsp;&nbsp;Log-rank test และใช้สถิติ Cox regression เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ จำนวน 105 ราย การรอดชีพหลังผ่าตัดที่ 30 วัน คือ ร้อยละ 93.33, 3 เดือน (ร้อยละ 89.53), 6 เดือน (ร้อยละ 88.58) และ 1 ปี คือ ร้อยละ 87.48 ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตที่ 1 ปีของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อด้วยการวิเคราะห์ด้วย multiple cox regression ได้แก่ ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดระหว่างการผ่าตัดด้วยวิธี modified ultrafiltration (MUF) (Adjusted HR = 5.44; 95%CI: 1.38-21.44 p = 0.016 ) เพศหญิง (Adjusted&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;HR = 6.68; 95%CI: 1.71-26.04,p = 0.006) ภาวะแทรกซ้อนในปอด (Adjusted HR = 9.50; 95%CI: &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2.62-34.44, p = 0.001) &nbsp;และภาวะไตวาย (Adjusted HR = 5.79; 95%CI: 1.41-23.72, p=0.01)</p> <p>สรุป: การรอดชีพหลังการผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อการรอดชีพหลังผ่าตัดที่ 30 วัน (ร้อยละ 93.33),</p> <p>3 เดือน (ร้อยละ 89.53), 6 เดือน (ร้อยละ 88.58) และ 1 ปี (ร้อยละ 87.48) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องการเสียชีวิตภายใน 1 ปี ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดโดยวิธี Modified ultrafiltration ระหว่างการผ่าตัด, เพศหญิง, ภาวะแทรกซ้อนในปอด และภาวะไตวาย</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024