วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj <p>วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและค้นคว้าวิชาแพทย์ บทความฟื้นวิชา การบรรยายพิเศษ รายงานผู้ที่เป็นที่น่าสนใจ เป็นต้น ยินดีรับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน กำหนดออกวารสาร ราย 4 เดือน (มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม)</p> โรงพยาบาลอุดรธานี/ Udonthani Hospital th-TH วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 0858-6632 <p align="justify">การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง</p> <p align="justify">ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร</p> <p><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><span style="font-weight: 400;">https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/</span></a></p> การปลูกเหงือกอิสระร่วมกับเทคนิคอุโมงค์เพื่อแก้ไขเหงือกร่นด้านลิ้นในฟันหน้าล่าง 2 ตำแหน่ง : รายงานผู้ป่วย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267041 <p> </p> <p>เหงือกร่นสามารถพบได้ในฟันทุกซี่ทุกด้าน โดยมากพบที่ด้านริมฝีปาก ส่วนน้อยจะพบที่ด้านลิ้นทำให้ขาดความสวยงาม มีอาการเสียวฟัน ฟันผุที่รากฟัน และเกิดการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย การผ่าตัดเพื่อปิดเหงือกร่นด้านลิ้นในฟันหน้าล่างถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย เนื่องจากข้อจำกัดทางกายวิภาคของบริเวณนี้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว และทำนายผลการรักษาได้ค่อนข้างยาก บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเพื่อแก้ไขเหงือกร่นด้านลิ้นในฟันหน้าล่าง 2 ตำแหน่ง เพื่อแก้ไขอาการเสียวฟัน และป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียฟันในอนาคต มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการผ่าตัดที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเพื่อแก้ไขเหงือกร่นในด้านลิ้น โดยใช้วิธีปลูกเหงือกอิสระร่วมกับเทคนิคอุโมงค์</p> <p>ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 27 ปี มาด้วยอาการเสียวฟัน จากการตรวจในช่องปากพบว่าฟัน 31, 33 มีเหงือกอักเสบและหินปูน และมีเหงือกร่นด้านลิ้น 8 และ 6 มิลลิเมตรตามลำดับ หลังการรักษาขั้นอนามัยช่องปาก (hygienic phase) ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเหงือกอิสระร่วมกับเทคนิคอุโมงค์ เพื่อ</p> นิรมล พงษ์ไทย Copyright (c) 2023 นิรมล พงษ์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 439 446 การฝึกความเชี่ยวชาญ (Faculty Practice) การปฏิบัติด้านการพยาบาลชุมชนของอาจารย์พยาบาล โดยใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ : กรณีศึกษา การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและการรักษาแบบประคับประคองที่บ้าน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267040 <p> </p> <p> การฝึกความเชี่ยวชาญ (faculty practice) การพยาบาลชุมชนของอาจารย์พยาบาลด้วยการเยี่ยมบ้าน(home visit) กับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยนำแนวคิดการดูแลครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (family-centered care) การเสริมพลังอำนาจเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลที่เหมาะสม เกิดผลลัพธ์ที่ดี</p> <p> กรณีศึกษา: การดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียงและการรักษาแบบประคับประคองที่บ้านในพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี ผู้ป่วยมีภาวะเสื่อมถอยมี multiple co-morbidity โรคลุกลามไม่ตอบสนองการรักษา มีความเครียด ในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลอย่างรอบด้านให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้</p> <p> การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว โดยใช้ IN-HOMESSS เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการสื่อสารของทีมสหสาขาวิชาชีพ และการใช้ทักษะการทำ family meeting เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่าทีมผู้ดูแลกับครอบครัว ทำความเข้าใจเป้าหมายหลักของผู้ดูแล การประเมินความต้องการด้านอื่นๆของผู้ป่วยละครอบครัว whole person approach, Palliative care Outcome Scale for Cares: POS-C เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการถามผู้ดูแลของผู้ป่วย, ประเมิน EPEC 9 Dimensions of Whole Patient Assessment for PC สามารถเสริมพลังให้ครอบครัวสามารถดูแลตนเอง</p> <p> ผลลัพธ์การดูแลโดยรวมดีขึ้นโดยมีคะแนนผลลัพธ์ Zarit burden, Stress test questionnaire (ST5) การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care Outcome Scale for Cares: POS-C) จาก 20 เป็น 13 คะแนน ตามลำดับ การจัดการปัญหาทางกาย ทางจิตใจ อาการรบกวนต่างๆ สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน การดูแลภาวะเครียดของครอบครัว โดยการเสริมพลังอำนาจ ตามแนวคิดของกิ๊บสันทำให้ผู้ดูแลมีภาวะเครียดลดลงจากแบบประเมินความเครียด (ST5) จาก 7 เป็น 4 คะแนนและภาระการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Zarit burden) ลดลงเป็น 10 คะแนน (no to mild burden)</p> <p> สรุป เครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมินและจัดการดูแลผู้สูงอายุป่วยระยะท้ายที่รักษาแบบประคับประคองที่บ้าน ทำให้เกิดผลดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ลดความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวน การมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมจัดการด้าน จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ลดความเครียดของผู้ดูแล </p> <p><strong> </strong><strong> </strong></p> กัลยภรณ์ เชยโพธิ์ Copyright (c) 2023 กัลยภรณ์ เชยโพธิ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 426 438 ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267044 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์โดยใช้กรอบแนวคิดความผาสุกทางจิตวิญญาณที่พัฒนาจากพุทธศาสนา ตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และบริบทของสังคมไทย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์ ประชากรคือ ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการ คลินิกศูนย์รวมใจ โรงพยาบาลบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 115 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลบุคคล แบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ การมีความหวังและเป้าหมายในชีวิต การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น 0.935, 0.801, 0.804 และ 0.819 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ไคสแควร์ (Chi-square test) และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยเอดส์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.91) อายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 38.26) และระดับการศึกษาสูงสุดในชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 60.87) มีระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.65, SD = 0.42) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระดับการศึกษา (p&lt;0.001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกคือ การสนับสนุนทางสังคม การมีความหวังและเป้าหมายในชีวิต และการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย โดยมีระดับความสัมพันธ์เท่ากับ 0.298 (p=0.001), 0.202 (p=0.031) และ 0.204 (p=0.029) ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> ณัฐยา คำธรรม ธัญสินี พรหมประดิษฐ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 320 331 ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีบุญเรือง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267032 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยและพัฒนา (research and development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีบุญเรือง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม จำนวน 329 คน และพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 11 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยห้องฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้น แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความคิดเห็น ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0</p> <p>ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 329 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.7 อายุระหว่าง 18-93 ปี &nbsp;&nbsp;&nbsp;อายุเฉลี่ย 64.9 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.11) ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเกิดจากผลข้างเคียงของยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ ร้อยละ 32.2 และไม่พบอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้ม กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ 11 คน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อแนวปฏิบัติอยู่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18 (ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87) ดังนั้นควรนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มที่ห้องฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง</p> ราชวัช ทวีคูณ Copyright (c) 2023 ราชวัช ทวีคูณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 332 345 ประสิทธิภาพของโยคะต่อการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพการทำงานของปอดในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลกุมภวาปี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267033 <p> </p> <p>การศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพของปอด เมื่อออกกำลังกายด้วยโยคะในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน โดยอาสาสมัครมีอายุระหว่าง 20 – 59 ปี ทั้งเพศชายและหญิง เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้ว ในระยะเวลา 10 - 60 วัน ในเขตตำบลกุมภวาปี ซึ่งได้รับการสุ่มเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 17 คน ซึ่งกลุ่มควบคุมจะดำเนินชีวิตตามปกติ กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะ 4 ท่า 20 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการประเมินการขยายตัวของทรวงอกด้วยสายวัดและประเมินสมรรถภาพปอด ด้วย Spirometry ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมการศึกษาที่แผนกกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกุมภวาปี</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าหลังจากออกกำลังกายด้วยโยคะช่วยให้มีการเพิ่มขึ้นของการขยายตัวของทรวงอกทุกระดับ พบว่าอกส่วนบนขยาย 1.80 เซนติเมตร (SD = 0.43) อกส่วนกลางขยาย 2.49 เซนติเมตร (SD = 0.43) อกส่วนล่างขยาย 3.18 เซนติเมตร (SD = 0.32) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P&lt;0.001 <br />ทุกระดับ) และพบว่าค่าร้อยละปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมาได้ใน 1 วินาทีต่อปริมาตรอากาศที่เป่าออกมาได้มากที่สุดอย่างเร็วแรง (%FEV<sub>1</sub>/FVC) เพิ่มขึ้น 83.10% (SD =2.91) และค่าเฉลี่ยของอัตราการไหลของอากาศในช่วงกลางของ FVC (%FEF<sub>25-75</sub>) เพิ่มขึ้น 2.98 % (SD = 0.78) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.016 และ 0.007 ตามลำดับ) และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO<sub>2</sub>) เพิ่มขึ้น 98.65 % (SD = 0.93) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P&lt;0.001)</p> <p>สรุป การออกกำลังกายด้วยโยคะในผู้ป่วยโควิด-19 สามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพปอดได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย</p> สู่ขวัญทิพย์ กาญจน์เบญญาภา จิรนันท์ อุดมพุทธชาติ ภานิชา พงศ์นราทร Copyright (c) 2023 สู่ขวัญทิพย์ กาญจน์เบญญาภา, จิรนันท์ อุดมพุทธชาติ, ภานิชา พงศ์นราทร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 346 355 ความเชื่อด้านสุขภาพกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19: กรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267034 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ และบทบาทของพยาบาลชุมชนในการเสริมพลังการรับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 55 คน ประกอบด้วยหญิงตั้งครรภ์ 26 คน ครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ 26 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ให้บริการฝากครรภ์ 3 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุเฉลี่ย 18.38 ปี <br>ระดับการศึกษาสูงสุดจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 53.85 อายุครรภ์เฉลี่ย 21.24 สัปดาห์ เป็นครรภ์แรก ร้อยละ 92.31 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร้อยละ 84.62 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุเฉลี่ย 29.85 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดจบปริญญาตรี ร้อยละ 38.46 อายุครรภ์เฉลี่ย 26.23 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 69.23 ส่วนมากไม่มีประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 (ร้อยละ 69.24) ส่วนที่ 2 การรับรู้ด้านสุขภาพต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค ประกอบด้วย ประเด็นการติดโรค และอาการของโรค 2) การรับรู้ความรุนแรงของโรค ประกอบด้วย ความรู้ ความตระหนัก และความกังวลเกี่ยวกับโรคและวัคซีน 3) การรับรู้ประโยชน์ของการรับวัคซีนป้องกันโรค ประกอบด้วย ประโยชน์ ความเสี่ยง และการตัดสินใจรับวัคซีน ซึ่งการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่รับวัคซีน และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่รับวัคซีนจะได้รับข้อมูลข่าวสาร และทำกลุ่มเสริมพลังร่วมกับพยาบาลชุมชน ที่คลินิกฝากครรภ์และในชุมชน เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 น้อยกว่ากลุ่มที่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จึงไม่เกิดความกังวลต่อผลกระทบของโรคโควิด-19 &nbsp;ต่อตนเองและทารก และไม่รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ส่วนที่ 3 พยาบาลชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเสริมพลังการรับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว โดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีน การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวตัดสินใจรับวัคซีน และการติดตามผลหลังการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย 4 บทบาทสำคัญ คือ 1) บทบาทการค้นหาสภาพการณ์จริง 2) บทบาทการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) บทบาทการเสริมพลังในการเลือกปฏิบัติ และ 4) บทบาทการสนับสนุนการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดี</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อเสนอแนะ การให้คำแนะนำและการตัดสินใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้นควรเป็นเรื่องที่คุ้มค่าและต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบกับหญิงตั้งครรภ์ สามี และครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ พยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมพลัง เพื่อช่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการวัคซีนอย่างครอบคลุม</p> <p>&nbsp;</p> ภาณุพงษ์ พังตุ้ย Copyright (c) 2023 ภาณุพงษ์ พังตุ้ย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 356 369 การใช้เมทแอมเฟตามีนและความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267035 <p> </p> <p><strong> </strong>การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของการใช้เมทแอมเฟตามีน 2) ความเครียด และ 3) เปรียบเทียบความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้และไม่ใช้เมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 289 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียด 20 ข้อ แบ่งความเครียดออกเป็น 4 ระดับ คือระดับน้อย ระดับปานกลาง มาก และรุนแรง ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 289 คน มีอายุระหว่าง 20 -34 ปีร้อยละ 65.1 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 92.0 จบมัธยมศึกษาร้อยละ 41.9 อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้างร้อยละ 46.7 ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ร้อยละ 21.5 ไม่ได้รับข้อมูลเรื่องผลกระทบของสารเสพติดร้อยละ 17.0 มีประวัติเคยใช้เมทแอมเฟตามีนร้อยละ 17.6 และขณะตั้งครรภ์ใช้เมทแอมเฟตามีนร้อยละ 7.3 มีความเครียดระดับน้อยมากร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นระดับมากร้อยละ 38.4 กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เมทแอมเฟตามีนและใช้ในขณะตั้งครรภ์ (กลุ่ม 1) มีสัดส่วนความเครียดระดับมากมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน (กลุ่ม 2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) คะแนนเฉลี่ยความเครียดในกลุ่ม 1 ที่ใช้เมทแอมเฟตามีนในอดีตและปัจจุบันมากกว่ากลุ่ม 2 ที่ไม่เคยใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)</p> <p>สรุป หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเครียดระดับมาก มีความเสี่ยงต่อการใช้เมทแอมเฟตามีน ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่ใช้เมทแอมเฟตามีนและหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเครียดสูง ควรส่งปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป</p> สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล ดวงพร แสงสุวรรณ อัญชลี อ้วนแก้ว กัตติกา วังทะพันธ์ Copyright (c) 2023 สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล , ดวงพร แสงสุวรรณ , อัญชลี อ้วนแก้ว , กัตติกา วังทะพันธ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 370 378 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงที่เข้ารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267036 <p> </p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มประชากรเป็นหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 200 คน ที่เข้ามาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลอุดรธานี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 โดยลักษณะประชากรและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ถูกเก็บข้อมูลโดยใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะประชากรโดยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยใช้ Logistic regression และ Multiple logistic regression analysis นำเสนอโดยใช้ Odd ratio, Adjusted Odd ratio, 95% Confidence interval (95%CI) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.05</p> <p>ผลการศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมงานวิจัยในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล จำนวน 200 คน พบว่า อายุ เฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ คือ 27.5 ปี (SD=5.8) เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ร้อยละ 15.5 (95%CI 10.78-21.27) มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม คือ จำนวนบุตรมีชีวิตตั้งแต่ 3 คน (AOR 109.6; 95%CI 3.2-3748.5, p=0.009), มีประวัติสูบบุหรี่ (AOR 127.2; 95%CI 3.7-4355.2, p=0.007), รายได้ของครอบครัวขัดสน (AOR 363.6; 95%CI 20.6-6408.4, p&lt;0.001), ความสัมพันธ์ในครอบครัวทะเลาะบ่อยครั้ง/ใช้ความรุนแรง (AOR 3921.7; 95%CI 61.9-248477, p&lt;0.001) และไม่ได้คุมกำเนิด/นับระยะปลอดภัย/หลั่งนอกช่องคลอด/ยาคุมฉุกเฉิน (AOR 8.5; 95%CI 1.1-66.5, p=0.041)</p> <p>สรุปผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม คือ จำนวนบุตรมีชีวิตตั้งแต่ 3 คน, มีประวัติสูบบุหรี่, รายได้ของครอบครัวขัดสน, ความสัมพันธ์ในครอบครัวทะเลาะบ่อยครั้ง/ใช้ความรุนแรง และไม่ได้คุมกำเนิด/นับระยะปลอดภัย/หลั่งนอกช่องคลอด/ยาคุมฉุกเฉิน</p> วัชรินทร์ เล็กเจริญกุล Copyright (c) 2023 วัชรินทร์ เล็กเจริญกุล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 379 389 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267037 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าของการผ่าตัดผู้ป่วยข้อสะโพกหัก กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักช่องทางด่วน ในช่วงเดือนเมษายน - สิงหาคม 2566 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่ 1 บุคลากรที่เกี่ยวข้องสะท้อนปัญหาการปฏิบัติวิเคราะห์สถานการณ์ จำนวน 24 คน ประชุมกลุ่มย่อย สัปดาห์ที่1 เดือนมีนาคม 2566 ระยะที่ 2 วางแผนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อยกร่างรูปแบบฯ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้บริหารสนทนากลุ่มย่อย สัปดาห์ที่ 3และ4 ของเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 64 คน และสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22คน&nbsp; &nbsp;ระยะที่ 3 ลงมือปฏิบัติตามแผนเก็บข้อมูลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรโดยเก็บข้อมูล one-group posttest only design ในเดือน เมษายน -พฤษภาคม 2566 ระยะที่ 4 ประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์นำมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ เครื่องมือวิจัย คือ 1.รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน 2.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษา 3. แบบประเมินการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) 4.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพ 5.แบบวัดความรู้และทักษะของพยาบาลการดูแลผู้ป่วยรับการผ่าตัด&nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรมี &nbsp;6 องค์ประกอบ คือ 1.การปรับโครงสร้างการบริการห้องผ่าตัด &nbsp;2. การจัดการระบบสื่อสารแบบไร้รอยต่อ 3. การพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยผ่าตัด 4.การสร้างทีมสหสาขาฉุกเฉิน 5.การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของญาติและครอบครัวการรองรับผู้ป่วยข้อสะโพกหัก 6.การสร้างแรงจูงใจในการทำงานระดับบุคคลและระดับทีมงาน และพบว่ากลุ่มทดลองหลังการใช้รูปแบบฯ ช่วยลดระยะรอคอยก่อนผ่าตัด จาก 7.1 วัน (ปี 2565) วันเหลือ 4.1 วัน หลังการใช้รูปแบบฯ 1 เดือน &nbsp;และช่วยเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis)ได้จำนวน 2 ราย&nbsp; และด้านความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับดีถึงดีมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป ได้ว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วนเพื่อลดความล่าช้าในการรอคอยของการผ่าตัดผู้ป่วยข้อสะโพกหักและเพิ่มคุณภาพในการดูแลเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> สุมาลี สง่าวงค์ นลินี เกิดประสงค์ วัชรา สุขแท้ Copyright (c) 2023 สุมาลี สง่าวงค์ , นลินี เกิดประสงค์, วัชรา สุขแท้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 390 399 อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติฯ ในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267038 <p> </p> <p><strong> </strong>การศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทาน ที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และประเมินความพึงพอใจในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฝังรากฟันเทียมร่วมกับใส่ฟันเทียมถอดได้ทั้งปากปี 2553 - 2566 ที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาจำนวน 74 ราย ทำการเก็บข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลทางรังสีพาโนรามาของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการใส่รากฟันเทียม ในขากรรไกรล่าง 2 ตัว และใช้ร่วมกับฟันเทียมถอดได้ทั้งปาก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประเมินความสำเร็จโดยใช้ CIP scale ประเมินอัตราการอยู่รอด และความพึงพอใจของผู้ป่วย</p> <p><strong> </strong><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยสูงอายุ 74 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 54.1 อายุระหว่าง 64-94 ปี การตรวจวัดดัชนีทางคลินิกรอบรากเทียมส่วนใหญ่พบว่ามีคราบจุลินทรีย์โดยการเขี่ยด้วยเครื่องมือ ด้านซ้ายร้อยละ 66.2 ด้านขวาร้อยละ 64.9 ไม่มีจุดเลือดออก ด้านซ้ายร้อยละ 71.6 ด้านขวาร้อยละ 68.9 สภาพเหงือกมีการอักเสบเล็กน้อย ด้านซ้ายร้อยละ 52.7 ด้านขวาร้อยละ 51.4 ร่องลึกปริทันต์ วัดความลึกได้ 2 มิลลิเมตร ด้านซ้ายร้อยละ 47.3 ด้านขวาร้อยละ 46.0 การสูญเสียของกระดูก พบมีการสูญเสียกระดูกแต่ไม่เกิน 1/3 ความยาวรากเทียม ด้านซ้ายร้อยละ 89.1 ด้านขวาร้อยละ 87.9 รากฟันเทียมไม่โยก ด้านซ้ายร้อยละ 97.3 ด้านขวาร้อยละ 94.6 มีอัตราการอยู่รอดที่ 13 ปี ร้อยละ 91.9 อัตราความสำเร็จของรากฟันเทียมตาม CIP scale พบว่า มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง ร้อยละ 89.2 ฟันเทียมล้มเหลว ร้อยละ 8.1 และระดับความพึงพอใจในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมพระราชทานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.5, SD = 0.6)</p> <p><strong> </strong><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทานระยะเวลาย้อนหลัง 13 ปี เท่ากับร้อยละ 91.9 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นไปในทางเดียวกันกับการศึกษาอื่นๆ</p> พัชรา บำรุงสงฆ์ Copyright (c) 2023 พัชรา บำรุงสงฆ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 400 410 ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อประสิทธิผลของงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/267039 <p> </p> <p> การวิจัยก่อนทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อประสิทธิผลของงานห้องผ่าตัด กลุ่มประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 60 คนระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัด แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสิทธิผลของงานเกี่ยวกับการบรรลุ ผลงานตามเป้าหมาย แบบบันทึกอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย แบบสังเกตการณ์การปฏิบัติบทบาทของพยาบาล (หัวหน้าห้องผ่าตัด/พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน) และแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ 0.83 และ 0.86 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้สถิติอนุมาน คือ paired samples T - test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยประสิทธิผลของงานเกี่ยวกับการบรรลุผลงานตามเป้าหมาย ( = 4.07, SD = 0.60) สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม ( = 3.87, SD = 0.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ไม่พบอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย จากการสังเกตพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม พยาบาลแสดงบทบาท การปฏิบัติตามบทบาทของตนเอง (ร้อยละ 100.00 ) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (ร้อยละ 98.60 ) คะแนนเฉลี่ย ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานหลังการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, SD = 0.68)</p> <p> ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม นำขั้นตอนการทำงานเป็นทีมของห้องผ่าตัดไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานแก่บุคลากรใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการห้องผ่าตัดต่อไป</p> ปิยนุช หัตถปนิตย์ วีกุญญา ลือเลื่อง Copyright (c) 2023 ปิยนุช หัตถปนิตย์ , วีกุญญา ลือเลื่อง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-31 2023-12-31 31 3 411 425