วชิรสารการพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj
<p>วชิรสารการพยาบาลเริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่พ.ศ.2526 มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วย เช่น โรคเฉียบพลัน โรคเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต การรักษาแบบประคับประคอง การสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรม วัตถุประสงค์ของวารสารเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัย บทวามทางวิชาการ และปกิณกะ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพต่างๆ ทุกบทความได้รับการควบคุมคุณภาพโดยผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขา (Peer Review) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขาการพยาบาล และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีกระบวนการประเมินแบบ double-blind review</p> <p>กำหนดการออกวารสารของวารวชิรสารการพยาบาล เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p> <p>วชิรสารพยาบาลจัดทำเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตีพิมพ์ (Print ISSN 3027-8058) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online ISSN 3027-8066)<br />สำหรับผู้สนใจ ที่จะส่งผลงานมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ในระบบ Thai Journals Online System ทางวชิรสารการพยาบาลมีค่าดำเนินการ ต่อเรื่อง เพื่อเป็นค่าดำเนินการในการพิจารณาคุณภาพของบทความก่อนได้รับการตอบรับตีพิมพ์และค่าดำเนินการในระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้</p> <p>1.ประเภทบุคคลภายนอกสังกัดมหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช ค่าดำเนินการ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)</p> <p>2. ประเภทบุคคลภายในสังกัดมหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช ค่าดำเนินการ 1,250 บาท (หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)</p> <p>วชิรสารการพยาบาลเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเปิดโอกาสรับตีพิมพ์ให้กับต้นฉบับที่มีคุณภาพเพื่อการเผยแพร่สู่สาธารณชน ค่าดำเนินการที่เรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสำหรับกระบวนการต่างๆ ของการจัดการคุณภาพ เช่น การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกระบวนการจัดทำอาร์ตเวิร์กสำหรับหารเผยแพร่ออนไลน์ ขั้นตอนการชำระเงินมีดังนี้</p> <p>1. เมื่อส่งบทความแล้วกระบวนการคัดกรองครั้งแรกของวารสารจะดำเนินการโดยทีมบรรณาธิการ โดยกำหนดแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วัน หากเอกสารที่ส่งมาไม่เป็นไปตามเกณฑ์การคัดกรอง บทความจะถูกปฏิเสธ (Reject) ผ่านทางระบบ <strong>ในขั้นตอนคัดกรองนี้ผู้ส่งบทความยังไม่ต้องชำระเงินและสามารถขอคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการปฏิเสธการพิจารณาการยอมรับการตีพิมพ์ได้</strong></p> <p>2. <strong>เมื่อบทความผ่านการคัดกรองครั้งแรกแล้ว ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ (Accept) ให้ผู้แต่งดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง บัญชี ธนาคารกรุงไทย เลขที่ 176-0-33792-7 ชื่อบัญชี นางสาวจงจิตต์ แจ้งหมื่นไวย์ </strong>โดยวชิรสารการพยาบาลจะส่งใบเสร็จรับเงินทางอีเมลของผู้แต่งภายใน 7 วัน หลังชำระเงินเรียบร้อย</p> <p>3. โปรดทราบว่าบทความที่ส่งเข้ามาสามารถถูกปฏิเสธได้ในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำในการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของทีมบรรณาธิการวารสาร หรือกรณีเจ้าของบทความมีความประสงค์ขอถอนบทความภายหลังการตอบรับตีพิมพ์แล้ว <strong>ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ไม่่สามารถขอคืนได้ </strong>หากบทความผ่านการพิจารณาแล้วว่าไม่พร้อมที่จะได้รับการตีพิมพ์</p>
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
th-TH
วชิรสารการพยาบาล
3027-8058
<p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่ง<strong>กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น</strong></p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะ<strong>ต้องได้รับอนุญาต</strong>เป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น</p> <p> </p>
-
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคลากรพยาบาล ที่ถูกกักตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/266629
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคลากรพยาบาลที่มากักตัวที่ Quarantine ward โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงโรค COVID-19 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และ 4) แบบสอบถามประเมินความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson's product moment correlation</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างบุคลากรพยาบาลที่ต้องกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย โรค COVID-19 จำนวน 85 ราย การรับรู้ความรุนแรงโรค COVID-19 มีค่าเฉลี่ยคะแนนระดับการรับรู้ระดับ อยู่ในระดับรุนแรงมาก (Mean=18.96, SD=2.58) แรงสนับสนุนทางสังคมมีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=36.01, SD=6.74) และคะแนนความเครียดเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (Mean=4.21, SD=3.33) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์การรับรู้ความรุนแรงของโรค COVID-19 ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.248*, p=.022) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับในการประเมินและจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดโดยเสริมการให้แรงสนับสนุนเมื่อมีโรคอุบัติใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์</p>
พิชญาพร พุฒสังข์
นิตยา นิ่มนวล
วาสนา ฬาวิน
สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
1
13
-
ปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของเด็กวัยเรียน ที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับในเขตกรุงเทพมหานคร
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268389
<p>การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับจำนวน 242 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองเด็กที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับ แบบวัดคุณภาพการนอนหลับ แบบบันทึกการตรวจร่างกาย และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการถดถอยโลจีสติก</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี เมื่อควบคุมปัจจัย พบว่าเด็กที่เป็นโรคหวัดจากภูมิแพ้มีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 12.79 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่เป็นโรคหวัดจากภูมิแพ้ (OR<sub>adj</sub>=12.795; 95%CI 5.04, 32.44) เด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจไม่บ่อยมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2.47 เท่า (OR<sub>adj</sub>=2.479; 95%CI 1.24, 4.92) และเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อยมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 3.45 (OR<sub>adj</sub>=3.457; 95%CI 1.15, 10.35) เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เด็กที่มีประวัติสัมผัสควันบุหรี่มีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีประวัติสัมผัสควันบุหรี่ (OR<sub>adj</sub>=4.506; 95% CI 2.22, 9.11) เด็กที่บิดามารดามีประวัตินอนกรนมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่บิดามารดาไม่มีประวัตินอนกรน (OR<sub>adj</sub>=2.505; 95%CI 1.05, 5.96) ทีมสุขภาพควรส่งเสริมการดูแลตนเองแก่เด็กวัยเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคหวัดจากภูมิแพ้ รวมทั้งให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสียของควันบุหรี่</p>
สุชาดา ดีเจริญ
เสริมศรี สันตติ
รุจา ภู่ไพบูลย์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
14
25
-
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268862
<p>การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่างอย่างเหมาะสม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่มวัดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ คะแนนพฤติกรรมในการดูแลเด็กของผู้ดูแล และศึกษาอัตราอุบัติการณ์การเข้ารับการรักษาซ้ำของเด็กด้วยภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างหลังได้รับโปรแกรม ภายใน 28 วันหลังจำหน่าย</p> <p>กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และแบบประเมินการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำ ภายใน 28 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลเด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่างหลังได้รับโปรแกรมมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และอัตราอุบัติการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำของเด็กด้วยภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างภายใน 28 วัน หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล ร้อยละ 3.33 (95%CI: 0.84–17.2)</p> <p>โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ช่วยส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลเด็กมากขึ้น และลดอุบัติการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ภายใน 28 วันหลังจำหน่ายได้</p>
สุจิตรา ขัติยะ
ศุภวรรณ ใจบุญ
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
26
41
-
ผลการวิเคราะห์ต้นทุนค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม Total Knee Arthroplasty ระยะผ่าตัด กรณี Premium คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268918
<p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty; TKA) ระยะผ่าตัด กรณี premium (คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือผู้เข้ารับบริการผ่าตัด TKA กรณี premium ตึกผ่าตัด 1 ชั้น 6 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยมีเครื่องมือในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี premium แบบบันทึกข้อมูลระยะเวลากระบวนการก่อนผ่าตัดกระบวนการระยะผ่าตัด และกระบวนการหลังผ่าตัด TKA กรณี premium</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี premium มีต้นทุนที่วิเคราะห์ได้ต่อครั้งผ่าตัดเฉลี่ย 15,151 บาท แต่อัตราที่เรียกเก็บจากผู้ป่วย 12,000 บาท โดยในจำนวนนี้มีสัดส่วนประเภทต้นทุนเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ต้นทุนค่าวัสดุ 7,937 บาท (คิดเป็นร้อยละ 52.39) ต้นทุนการพัฒนา 3,030 บาท (ร้อยละ 20) ต้นทุนค่าเสื่อมราคา 2,164 บาท (ร้อยละ 14.28) และต้นทุนบริหารจัดการ 2,020 บาท (ร้อยละ 13.33) เมื่อแจกแจงต้นทุนค่าหัตถการฯ ต่อครั้งผ่าตัดตามกระบวนการพยาบาล พบว่า สัดส่วนต้นทุนกระบวนการผ่าตัดมีต้นทุนสูงสุด 14,021 บาท (ร้อยละ 92.5) รองลงไปคือกระบวนการเสร็จสิ้นการผ่าตัด 672 บาท (ร้อยละ 4.4) และกระบวนการเตรียมการก่อนลงมือผ่าตัดมีต้นทุนเท่ากับ 458 บาท (ร้อยละ 3.0)</p>
ปัญจลักษณ์ นทีทวีวัฒน์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
42
56
-
ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวด ของมารดาหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268997
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวด ปริมาณการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ เวลาครั้งแรกที่เริ่มขยับตัวหลังผ่าตัดของมารดาหลังได้รับการผ่าตัดคลอดระหว่างที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวด และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอด ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลฝางจังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจัดการความปวด 2) แบบประเมินความปวดหลังผ่าตัดคลอด 3) แบบบันทึกปริมาณการใช้ยาลดปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอด และ 4) แบบบันทึกเวลาครั้งแรกที่เริ่มขยับตัวหลังผ่าตัดคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ linear mixed-effects model</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความปวดโดยรวมตลอดช่วงเวลาที่ติดตามอาการตั้งแต่ที่ 4 ถึง 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 0.64 คะแนน (95%CI:-1.58, 0.30) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.180) ปริมาณการใช้ยาลดปวดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเคลื่อนไหวครั้งแรก<br />น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการความปวดสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ยาลดปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอด และช่วยให้มารดาหลังผ่าตัดคลอด<br />เริ่มเดินข้างเตียงได้เร็วกว่ามารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ไม่ได้รับโปรแกรม</p>
จีรพรรณ์ ชัยยา
ศุภวรรณ ใจบุญ
จริยาพร ศรีสว่าง
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
57
71
-
ปาต้วนจิ่น: การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268749
<p>การออกกำลังกายแบบปาต้วนจิ่น เป็นรูปแบบการออกกำลังกายประเภทหนึ่งของชี่กงที่มีประวัติและวิวัฒนาการที่ยาวนาน เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากมีกระบวนท่วงท่าที่น้อยและเข้าใจง่ายซึ่งการออกกำลังกายแบบปาต้วนจิ่นมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัว สามารถป้องกันการเกิดการหกล้มในผู้สูงอายุได้ และเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุดี บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการออกกำลังกายแบบปาต้วนจิ่นสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการชะลอความเสื่อมที่จะเกิดขึ้นและเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p>
พงศ์ศักดิ์ ธรรมกุลศักดิ์
ชญานนท์ ไชยเลิศ
สุพัตรา ใจรังกา
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
72
81
-
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อน้ำดีภายหลัง การส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน: กรณีศึกษา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268996
<p>โรคนิ่วในท่อน้ำดี เป็นโรคที่พบบ่อยในสังคมเมือง การวินิจฉัยและการรักษาโรคนิ่วในท่อน้ำดีมีหลายวิธี ปัจจุบันการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP) มีแนวโน้มมากขึ้น ภายหลังการทำหัตถการผู้ป่วยมีโอกาส เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบ ลำไส้ทะลุ การติดเชื้อ เป็นต้น พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถในการประเมินภาวะแทรกซ้อนในช่วงแรกที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง บทความวิชาการฉบับนี้ คณะผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับโรคนิ่วในท่อน้ำดี อาการและอาการแสดง การวินิจฉัย การรักษาด้วยการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมถึงการพยาบาลภายหลังการทำหัตถการ โดยใช้กรณีศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน สามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับมาที่หอผู้ป่วยภายหลังจากการทำหัตถการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายคือ ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย</p>
สุพัตรา ใจรังกา
ลัดดาวัลย์ ศรีแสนตอ
ศิราพร ปิ่นวิหค
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
26 1
82
93