วชิรสารการพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj
<p>วชิรสารการพยาบาลเริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่พ.ศ.2526 มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วย เช่น โรคเฉียบพลัน โรคเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต การรักษาแบบประคับประคอง การสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรม วัตถุประสงค์ของวารสารเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัย บทวามทางวิชาการ และปกิณกะ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพต่างๆ ทุกบทความได้รับการควบคุมคุณภาพโดยผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขา (Peer Review) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขาการพยาบาล และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีกระบวนการประเมินแบบ double-blind review</p> <p>กำหนดการออกวารสารของวารวชิรสารการพยาบาล เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p> <p>วชิรสารพยาบาลจัดทำเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตีพิมพ์ (Print ISSN 3027-8058) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online ISSN 3027-8066)<br />สำหรับผู้สนใจ ที่จะส่งผลงานมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ในระบบ Thai Journals Online System ทางวชิรสารการพยาบาลมีค่าดำเนินการ ต่อเรื่อง เพื่อเป็นค่าดำเนินการในการพิจารณาคุณภาพของบทความก่อนได้รับการตอบรับตีพิมพ์และค่าดำเนินการในระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้</p> <p>1.ประเภทบุคคลภายนอกสังกัดมหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช ค่าดำเนินการ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)</p> <p>2. ประเภทบุคคลภายในสังกัดมหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช ค่าดำเนินการ 1,250 บาท (หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)</p> <p>วชิรสารการพยาบาลเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเปิดโอกาสรับตีพิมพ์ให้กับต้นฉบับที่มีคุณภาพเพื่อการเผยแพร่สู่สาธารณชน ค่าดำเนินการที่เรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสำหรับกระบวนการต่างๆ ของการจัดการคุณภาพ เช่น การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกระบวนการจัดทำอาร์ตเวิร์กสำหรับหารเผยแพร่ออนไลน์ ขั้นตอนการชำระเงินมีดังนี้</p> <p>1. เมื่อส่งบทความแล้วกระบวนการคัดกรองครั้งแรกของวารสารจะดำเนินการโดยทีมบรรณาธิการ โดยกำหนดแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วัน หากเอกสารที่ส่งมาไม่เป็นไปตามเกณฑ์การคัดกรอง บทความจะถูกปฏิเสธ (Reject) ผ่านทางระบบ <strong>ในขั้นตอนคัดกรองนี้ผู้ส่งบทความยังไม่ต้องชำระเงินและสามารถขอคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการปฏิเสธการพิจารณาการยอมรับการตีพิมพ์ได้</strong></p> <p>2. <strong>เมื่อบทความผ่านการคัดกรองครั้งแรกแล้ว ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ (Accept) ให้ผู้แต่งดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง บัญชี ธนาคารกรุงไทย เลขที่ 176-0-33792-7 ชื่อบัญชี นางสาวจงจิตต์ แจ้งหมื่นไวย์ </strong>โดยวชิรสารการพยาบาลจะส่งใบเสร็จรับเงินทางอีเมลของผู้แต่งภายใน 7 วัน หลังชำระเงินเรียบร้อย</p> <p>3. โปรดทราบว่าบทความที่ส่งเข้ามาสามารถถูกปฏิเสธได้ในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำในการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของทีมบรรณาธิการวารสาร หรือกรณีเจ้าของบทความมีความประสงค์ขอถอนบทความภายหลังการตอบรับตีพิมพ์แล้ว <strong>ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ไม่่สามารถขอคืนได้ </strong>หากบทความผ่านการพิจารณาแล้วว่าไม่พร้อมที่จะได้รับการตีพิมพ์</p>
th-TH
<p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่ง<strong>กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น</strong></p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะ<strong>ต้องได้รับอนุญาต</strong>เป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น</p> <p> </p>
vajira.vnj@gmail.com (Thamonwan Yodkolkij)
vajira.vnj@gmail.com (Melin Kontee)
Thu, 26 Dec 2024 13:57:13 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
การป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากยาเคมีบำบัด ด้วยน้ำมันสกัดธรรมชาติ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/269676
<p>ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากยาเคมีบำบัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง โดยสามารถพบได้ในระยะเฉียบพลันตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกหลังเริ่มให้ยาเคมีบำบัด และยังคงอยู่เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้ซึ่งส่วนใหญ่เกิดหลังจากการได้รับยาเคมีบำบัดในรอบที่สองขึ้นไป ทั้งนี้พบว่ามีอุบัติการณ์สูงทั้งใประเทศไทยและต่างประเทศ ในประเทศไทยภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากยาเคมีบำบัดสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดในวันที่สามถึงสี่ และส่งผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ ตลอดจนสถานะเศรษฐกิจและสังคมแก่ผู้ป่วยอีกด้วยดังนั้น บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากยาเคมีบำบัดแก่พยาบาลผู้ดูแล โดยสามารถพิจารณาเลือกใช้น้ำมันสกัดชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันงา น้ำมันเทียนดำ และน้ำมันคาร์โมมายล์ในการทาผิวหนังเหนือหลอดเลือดดำที่รับยาได้ เป็นการนำความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ในบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยมะเร็งได้</p>
วิทย์กวินท์ วรกิตติจรูญ, ศุภนุช ไร่แต่ง
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/269676
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270474
<p>ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างสังคม ประชากร เศรษฐกิจและเทคโนโลยี การแข่งขันทางธุรกิจสุขภาพ การเข้าสู่ยุค VUCA World ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและยากเกินกว่าจะคาดเดา ส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการณ์ดังกล่าวเพื่อให้สามารถอยู่รอด และเติบโตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรพยาบาลซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพหนึ่งที่มีบุคลากรในระบบบริการสุขภาพมากที่สุด และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีผู้บริหารทางการพยาบาลเป็นหัวเรือใหญ่ ที่จะนำพาองค์การฟันฝ่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บทความนี้นำเสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากโลกในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้บริหารไม่เพียงแต่บริหารได้เท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีสมรรถนะภาวะผู้นำที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21ซึ่งใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านการบริหารองค์กร และการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยกลยุทธ์เริ่มตั้งแต่ การวิเคราะห์ตนเอง การกำหนดเป้าหมาย การระบุและเรียงลำดับความสำคัญในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนการวางแผนพัฒนาภาวะผู้นำ อันจะนำไปสู่การนำพาองค์กรให้อยู่รอด และตอบสนองต่อการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ, วัลภา อรัญนะภูมิ
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270474
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เกิดแผลผิวหนังอักเสบ จากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้: กรณีศึกษา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271406
<p>แผลผิวหนังอักเสบจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ (Incontinence-associated dermatitis: IAD) เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดแผลกดทับ และลดความสำเร็จของตัวชี้วัดที่สำคัญในหอผู้ป่วยวิกฤต บทความนี้มุ่งเน้นที่จะนำเสนอ 1) ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผล IAD 2) กลไกการเกิดแผล IAD 3) เครื่องมือประเมินความเสี่ยงและเครื่องมือประเมินความรุนแรงของแผล IAD และ 4) การดูแลแผล IAD ตามระดับความรุนแรง โดยบูรณาการกรอบแนวคิดวงจรป้องกันและจัดการแผล IAD ลงสู่การปฏิบัติดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เกิดแผล IAD ขณะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ผลการดูแล พบว่า การใช้กรอบแนวคิดวงจรป้องกันและจัดการแผล IAD ร่วมกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลแผล IAD สามารถลดความรุนแรง และส่งเสริมการหายของแผล IAD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ชานนท์ ขนานใต้, พัชรินทร์ เวทสม
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271406
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การดูแลแบบประคับประคองที่บ้านของผู้ดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับยาเคมีบำบัด
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270824
<p>การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบประคับประคองที่บ้าน (home-based palliative care) นั้นมีความสำคัญเนื่องจากการดูแลที่บ้านช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเพื่อมารับการรักษา ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ดูแล โดยการสนับสนุนให้ข้อมูล ความรู้ และการสนับสนุนทางด้านจิตใจเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและทักษะในการจัดการกับอาการและผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การสนับสนุนนี้ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต้องอาศัยการบูรณาการความช่วยเหลือจากครอบครัว ระบบสุขภาพ และชุมชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม</p>
กัมพล อินทรทะกูล, อาวีวรรณ วิทยาธิกรณศักดิ์, ปฐมาภรณ์ อาษานอก, ชุรีภรณ์ สีลกันตสูติ, สุรีพร ธนศิลป์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270824
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อำเภอเสิงสาง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271830
<p>การศึกษานี้เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนสังกัด (สพฐ.) อำเภอเสิงสาง ก่อน-หลังได้รับโปรแกรม และระยะติดตาม จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์การคัดเข้า คือ 1) เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีอายุ 12-15 ปี 2) มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน (+2 S.D. ถึง ≥+3 S.D.) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมกิจกรรมทางกาย ผ่านการทดสอบ ความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้เท่ากับ 0.85 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การทำกิจกรรมทางกาย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพบว่า ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามมีภาวะโภชนาการดีขึ้นจากก่อนการทดลองดังนี้ ภาวะโภชนาการในระดับเริ่มอ้วนดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 33.33 ภาวะโภชนาการในระดับอ้วนดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 45.83</p> <p>ผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น</p>
เกตุธิดา พลดงนอก
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271830
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลเมดพาร์ค
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/269681
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลเมดพาร์คพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมศึกษาวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงพยาบาลเมดพาร์ค และการจัดกลุ่มสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ 10 คนได้สมรรถนะหลัก สมรรถนะย่อย และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบการวัดแบบมาตรประมาณค่า (rating scale)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน สมรรถนะย่อย 20 ข้อ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำ (5 ข้อ) 2) ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (4 ข้อ) 3) การสื่อสารและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (3 ข้อ) 4) การจัดการทรัพยากร (4 ข้อ) และ 5) การจัดการเชิงธุรกิจ (4 ข้อ) การประเมินคุณภาพของแบบประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน 3 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.76 การนำแบบประเมินไปทดลองใช้ โดยนำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจริง 4 กลุ่ม คือ ผู้บังคับบัญชา<br />ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นประเมินตนเอง เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวน 30 คน นำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ 0.90 และผลการวิเคราะห์ความเที่ยงของกลุ่มประชากรจำนวน 126 คน อยู่ที่ระดับ 0.88</p>
พรรษ์พนิตา อินทชิต, ยุพิน อังสุโรจน์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/269681
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะ และพฤติกรรมการตรวจเต้านมในนักศึกษาเพศหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270177
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคของโรเจอร์ส ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ระยะเวลาวิจัย 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ paired sample t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังการทดลองกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองดีขึ้น</p>
ฐมาพร เชี่ยวชาญ, อลงกต ประสานศรี, ชิดชัย หาฉวี
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270177
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของการฝึกออกกำลังมือ และเท้าต่ออาการชาในผู้ป่วย มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับอ๊อกซาลิพลาติน ผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271072
<p>การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายมือและเท้าต่ออาการชาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับอ๊อกซาลิพลาตินผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยมหาวชิราวุธ 6A โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คัดกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ คัดเลือกแบบบล๊อก จำนวน 52 ราย จัดเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 26 ราย จำนวน 2 กลุ่ม มีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังมือ และเท้า วัดอาการชาด้วยแบบวัดที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมด้วย ANCOVA</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คะแนนอาการชาก่อนการทดลอง มีอิทธิพลต่อคะแนนอาการชาหลังการทดลอง (F(1, 49) = 164.12, p <.001) ดังนั้น เมื่อควบคุมอิทธิพลของคะแนนอาการชาก่อนทดลอง พบว่า อาการชาหลังได้รับการฝึกออกกำลังกายมือและเท้าของกลุ่มทดลองมีระดับอาการชาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 49) = 39.81, p < .001) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การฝึกออกกำลังกายมือและเท้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดอาการชาที่เกิดขึ้นจากการได้รับอ๊อกซาลิพลาตินผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลายได้</p>
กัมพล อินทรทะกูล, ชุรีภรณ์ สีลกันตสูติ, อาวีวรรณ วิทยาธิกรณศักดิ์, สุภาพรรณ จำปาศรี, พิชญา บุณโยประการ, เมทินา มามะ, กชกร ไพรัตน์, ณัฐพงศ์ อ่ำทรัพย์, ปิยรัตน์ ภาคลักษณ์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271072
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวทางการเตรียมความพร้อม เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ สอบสวนโรคและผู้ป่วยยืนยัน COVID-19
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271903
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการนำแนวทางการเตรียมความพร้อม ส่งเสริมการปรับตัวของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค และผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ระยะที่ 1 จำนวน 342 คนเข้าร่วมพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ระยะที่ 2 จำนวน 44 คน ที่ดูแลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคและผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 และใช้แนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ขณะปฏิบัติงาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคและผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 แบบสนทนากลุ่ม ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ไปใช้ และแบบวัดการปรับตัวของพยาบาล</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพ อาสาสมัครส่วนใหญ่ คือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของพยาบาลครอบคลุม 5 มิติ คือ ด้านนโยบาย ด้านบุคลากร ด้านองค์ความรู้และสมรรถนะของบุคลากร ด้านการรักษาพยาบาล และด้านอาคารสถานที่และสิ่งสนับสนุนที่จำเป็น 3) ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ไปใช้อยู่ในระดับมาก และ 4) พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ผู้ป่วย COVID-19 หลังนำแนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ไปใช้ มีคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน (mean=3.71, SD.=0.43) กล่าวได้ว่า พยาบาลมีการใช้แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค และผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 สามารถช่วยให้พยาบาลระดับปฏิบัติการปรับตัวได้ในระดับมาก</p>
อำพัน วิมลวัฒนา, จันทรรัตน์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271903
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ความชุกของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก ในผู้ป่วยระบบประสาทสมองและระบบประสาทไขสันหลัง ของสถาบันประสาทวิทยา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268736
<p>ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วยระบบประสาทอาจรุนแรง นำไปสู่การเสียชีวิตได้ การวิจัยแบบศึกษาย้อนหลังครั้งนี้ ศึกษาความชุกของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก ผู้ป่วยระบบประสาทสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา ตั้งแต่ ตุลาคม 2561 ถึง กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือเวชระเบียนผู้ป่วย ใบรายงานผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ และรายงานผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ และสถิติ simple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ crude odds ratio และ 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยระบบประสาทสมองและระบบประสาทไขสันหลังทั้งหมด 495,968 คนเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก 57 คน อัตราความชุกของโรคเท่ากับ 11.77 ต่อประชากรแสนคน ปัจจัยสัมพันธ์กับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทผู้ป่วยใน (OR = 2.24; 95% CI = 1.21-4.17) อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี (OR = 2.53; 95% CI = 1.41-4.56) กลุ่มผู้ป่วยระบบประสาทวิทยา (OR = 2.57; 95% CI = 1.17-5.66) กลุ่มผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทสมอง (OR = 4.88; 95% CI = 2.16-11.04) ใส่ central line (OR = 9.36; 95% CI = 1.67-52.43) และ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด (OR = 2.66; 95% CI = 1.30-5.45) จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกนำสู่การเฝ้าระวัง การพัฒนาแนวทางการป้องกัน ในการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
อัญชลี ยศกรณ์, จินตนา ฤทธารมย์, จันทร์เพ็ญ นพพรพรหม, ธนบูรณ์ วรกิจธำรงชัย, ธน ธีระวรวงศ์
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/268736
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรม ด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางในชุมชน
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271958
<p>การวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hematocrit: HCT)หลังการเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับ HCT ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ในกลุ่มทดลองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี เคยไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนมาแล้ว เมื่ออายุครรภ์ 16-28 สัปดาห์ มีระดับ HCT ของการฝากครรภ์ครั้งแรก ต่ำกว่าร้อยละ 33 พักอาศัยอยู่ในชุมชน จังหวัดนครปฐม เลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง ด้วยกรอบแนวคิดของเพนเดอร์และสร้างประสบการณ์ความสำเร็จผ่านตัวแบบจากสื่อวิดิทัศน์และการสื่อสารทางออนไลน์ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับ HCT กลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามขั้นตอนของโปรแกรมที่บ้าน 2 ครั้ง และผ่านทางออนไลน์ 2 ครั้ง ผลการวิจัย พบว่า สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับ HCT สูงกว่ากลุ่มควบคุม และในกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับ HCT สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271958
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริง คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/272363
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริง คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ ทดลองใช้ระบบและตรวจสอบคุณภาพ ตัวอย่าง 77 คน คือ นักศึกษาพยาบาล 65 คน และอาจารย์พยาบาล 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินคุณภาพระบบ แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบบริการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับเนื้อหา เท่ากับ .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ .82, .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ dependent t-test และวิเคราะห์เนื้อหา content analysis</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการให้บริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริง ได้แก่ อุปกรณ์บางอย่างไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัยเหมือนในหอผู้ป่วยจริง สถานที่ค่อนข้างเล็กไม่สามารถรองรับนักศึกษาจำนวนมากได้ เวลาเปิด 8.00-16.00 น. นักศึกษาเลิกเรียนมาใช้บริการไม่ทัน และมีจำนวนบุคลากรน้อย 2) การออกแบบระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริงครั้งนี้เริ่มจากการตั้งเป้าหมายให้การบริการอย่างมืออาชีพ จัดสรรบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ จัดการให้บริการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการสอน โดยมีการประเมินคุณภาพระบบบริการ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3) ระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับสูง และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อระบบบริการมาก-มากที่สุด จากผลการวิจัยผู้ให้บริการควรใช้ระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริงนี้ต่อเนื่องไป และนำระบบบริการของห้องปฏิบัติการเสมือนจริงไปขยายผลใช้ในหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว ตรงตามต้องการ</p>
สุรัฐ อ่อนละมูล, วัลยา ตูพานิช
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/272363
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพจิต ต่อความตระหนักรู้ในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของความเครียด และภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/272366
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพจิตต่อความตระหนักรู้ในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักเรียนในเขตเมือง กรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ทางสุขภาพจิต และความตระหนักรู้มาพัฒนาโปรแกรมฯ ในการศึกษาครั้งนี้ รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด 2 กลุ่ม วัดก่อน และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน ระยะเวลาศึกษา 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลในสัปดาห์ที่ 1 และ 4 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพจิต และความตระหนักรู้การป้องกันปัจจัยเสี่ยงของความเครียดและภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีแบบจับคู่ และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพจิตฯ และความตระหนักโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) และ 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพจิตฯ และความตระหนักโดยรวมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แต่มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ ดังนั้นโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพจิต สามารถทำให้นักเรียนมีแนวโน้มของความรอบรู้และความตระหนักรู้ในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของความเครียดและภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นได้มากกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแผ่นพับร่วมกับการได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพจิต</p>
สุธีกาญจน์ ไชยลาภ, จันทรรัตน์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์, พรพรหม รุจิไพโรจน์, วัลยา ตูพานิช, ณัฐนันท์ วัฒนวิการ
Copyright (c) 2024 วชิรสารการพยาบาล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/272366
Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700