บทบาทของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาในการร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้และสร้างความเข้มแข็งให้กับ ระบบสุขภาพอำเภอ: กรณีศึกษา การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • Kamolthip Tanglakmankong วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • Chaweewan Sridownrueang วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • Chiraporn Worawong วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพอำเภอ, บทบาทของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาในการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งศึกษาปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน วิธีการวิจัยเป็นวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ศูนย์ประสานงานและการจัดการการเรียนจาก สสจ. หนองคาย 1 คน พี่เลี้ยง 5 คน ทีมผู้เรียนจากภาคีสุขภาพ 60 คน และ AI 2 คน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งออกเป็น  3 ระยะ ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2558- ตุลาคม 2559 ได้แก่ ระยะวางแผนใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจระยะดำเนินการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบชุมชนมีส่วนร่วมและระยะประเมินผลใช้วิธี Focus group

            ผลการศึกษา พบว่าบทบาทของ AI เป็นการได้รับการชักชวนจาก LCC แบบสมัครใจทั้ง 5 workshops  โดย LCC ใช้วิธีประสานงานแบบไม่เป็นทางการ และนัดวันกับ AI ให้ได้ก่อน เพื่อให้เกิดการเข้าร่วมกระบวนการอย่างต่อเนื่อง AI มีวิธีติดตามงานทาง LINE ทำให้บทบาทหลักของ AI ชัดเจนขึ้น ดังนี้ 1) ชื่นชมโดย AI มีบทบาทหลักในการฟัง สังเกต และพูดให้น้อยที่สุดและเป็นการพูดเพื่อชื่นชมการร่วมเรียนรู้ของ LCC และ LT 2) ดูดซับโดย AI มีหน้าที่เก็บข้อมูลประเด็นการเรียนรู้ และ 3) สะท้อนกลับเพื่อหาต้นทุนที่ดีของพื้นที่และนำเสนอสิ่งที่ท้าทายในการพัฒนาในครั้งต่อไป

           

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-02