ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาต โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Kularb Namrach โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาต โรงพยาบาลอุดรธานี ปี พ.ศ. 2555 ถึง ปี พ.ศ.2559 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 103 คน เครื่องมือใช้แบบบันทึกข้อมูล ค่า IOC=0.67-1.00, r = 0.82 ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาต สถิติใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถดถอยโลจิสติก พบว่า

1. ผู้ป่วยส่วนมากอายุ 30 - 39 ปี (39.81%, gif.latex?\bar{x} = 35.41, SD = 11.17) สถานภาพสมรสคู่ (64.08%) อาศัยนอกเขตอำเภอเมืองอุดรธานี (67.96%) การศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า (49.51%) อาชีพเกษตรกร  (31.07%) รายได้ 5,000 – 9,999 บาท (40.78%, gif.latex?\bar{x} = 8,369.22, SD = 7756.70) มีภาวะแทรกซ้อน (85.44%) จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ ปวดบวมแดง (56.31%) ปัสสาวะขัด (15.53%) มีแผล (7.77%) 4)  เป็นก้อนแข็ง (5.83%)  ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (14.56%) นอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 5 วัน (53.40%) ฉีดน้ำมันมะกอก (50.49%)  คนที่ฉีดเป็นคนรู้จัก (59.22%) รักษาด้วยการผ่าตัด (54.37%) ดื่มสุราและสูบบุหรี่ (36.89%)

2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาต ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวประจำตัวมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน 1.43 เท่า (ORadj = 1.43, 95% CI = 0.06 - 0.91) และ ผู้ป่วยที่ฉีดสารอื่นๆมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน 5.03 เท่า (OR adj = 5.03, 95% CI = 1.33- 19.06)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-02