บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • Thananunt กุลไพบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏมีเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 38 แห่งทั่วประเทศ มีบทบาทเป็น “สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งใช้แนวคิดของ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ การร่วมรับผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีส่วนในการแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนผ่าน 3 แผนงาน คือ 1) แผนงานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) แผนงานปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร 3) แผนงานส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน โดยมีการวางยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ 4 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 2) ด้านบุคลากรการวิจัยและนวัตกรรม 3) ด้านระบบงบประมาณการวิจัยและนวัตกรรม และ 4) ด้านกฎหมาย

มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมด้วยการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่นำสู่การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การเสริมพลังแก่ชุมชนในจัดการตนเอง สนับสนุนการวิจัยตามความต้องการในแต่ละพื้นที่ เช่น 1) การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก 2) การจัดตั้งศูนย์คราม 3) การจัดตั้งกลุมวิจัย 4) การจัดเวทีการเสวนาการพัฒนาทองถิ่นด้วยวิจัยและนวัตกรรม 5) การสนับสนุนการวิจัย ทั้งด้านนโยบาย บุคลากร งบประมาณ 6) การสนับสนุนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30