ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด, จังหวัดดีเด่นด้านการแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
การปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มีเป้าหมายเพื่อป้องกันความพิการและการเสียชีวิตจากภาวะฉุกเฉิน และให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน มีหลักการพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัดที่มุ่งการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ มากกว่าปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ คำนึงถึงนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ และบริบทของพื้นที่แต่ละจังหวัด ใช้ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 และพัฒนาตัวชี้วัดโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้ปฏิบัติในระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
- อัตราการรอดชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง
- ร้อยละของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นสูงที่กระจายจุดจอดรถครอบคลุมพื้นที่ให้เข้าถึงได้ภายใน 8 นาที
- จำนวนนวัตกรรมที่เกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่นำมาให้บริการในจังหวัด และ/หรือเผยแพร่ในวารสาร/การประชุมวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ระดับคุณภาพศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการระดับจังหวัด
- ร้อยละของประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน การแจ้งเหตุ และการช่วยเหลือเบื้องต้น
- ร้อยละผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.