ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันตนเองและการบริหารการหายใจต่อประสิทธิภาพการทำงานของปอดในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเห็ด

ผู้แต่ง

  • Rinhatai Tanapornsittikul

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การบริหารการหายใจ ประสิทธิภาพการทำงานของปอด การป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

             

การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันตนเองและการบริหารการหายใจต่อประสิทธิภาพการทำงานของปอดในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเห็ด กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกเห็ด คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการบริหารการหายใจ คู่มือความรู้ด้านสุขภาพ การใช้เครื่องป้องกันตัวเองและการบริหารการหายใจ วีดิทัศน์การบริหารการหายใจ ระยะเวลาในการวิจัยทั้งหมด 16 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์อาการทางระบบทางเดินหายใจ แบบสัมภาษณ์การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการบริหารการหายใจ ความรู้ในการประกอบอาชีพปลูกเห็ด ประเมินพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและประเมินประสิทธิภาพการทำงานของปอด (forced vital capacity (FCV), forced expiratory volume in one second (FEV1)) ด้วยเครื่อง Spirometer วิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired t-test ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการบริหารการหายใจหลังการทดลองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการประกอบอาชีพหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตัวเองหลังการทดลองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า FCV และ FEV1 หลังการทดลองเพิ่มขึ้นก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

คำสำคัญ: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การบริหารการหายใจ ประสิทธิภาพการทำงานของปอด การป้องกันตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29