ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันก่อนจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุพิมล บุตรรัตนะ

คำสำคัญ:

โปรแกรมเตรียมความพร้อม, ความพร้อม, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน มีความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันมาก ดังนั้นผู้ดูแลหลักจึงมีบทบาทสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันก่อนจำหน่ายกลับบ้าน เป็นการศึกษาแบบ Interrupted Time Series Quasi-Experimental Design ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำนวน 108 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือผู้ดูแลหลักที่ได้รับการเตรียมความพร้อมตามมาตรฐานปัจจุบัน จำนวน 54 คน (ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2562) และกลุ่มทดลองคือผู้ดูแลหลักที่ได้รับการเตรียมความพร้อมตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น จำนวน 54 คน (ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563) ภายหลังจากการใช้โปรแกรมกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินความพร้อมก่อนจำหน่าย โดยเปรียบเทียบความพร้อมของผู้ดูแลหลัก และการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Multivariable Risk Difference Regression

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักมีลักษณะทั่วไปแตกต่างกันเล็กน้อย ภายหลังปรับความแตกต่างดังกล่าว พบว่า กลุ่มทดลองมีความพร้อมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) แต่การกลับมารักษาซ้ำไม่แตกต่างกัน (p=0.810) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ดูแลควรได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันก่อนจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อให้ผู้ดูแลหลักมีความพร้อมและมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดโอกาสการกลับมารักษาซ้ำ

คำสำคัญ (Keywords) : ผู้ดูแลหลัก โปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29