ผลของการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องโรงพยาบาลวานรนิวาส
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การผ่าตัดแบบนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, ปวด, การจัดการความปวดหลังผ่าตัดบทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องแผนกหอผู้ป่วยศัลยกรรม 1 และ 2 โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง จำนวน3 0 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความปวดหลังผ่าตัดโดยใช้สถิติ Paired T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความปวดหลังผ่าตัดที่ได้รับการจัดการความปวดภาพรวมทั้งหมดใช้สถิติ Repeated Measure ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความปวดหลังผ่าตัดลดลงเรื่อย ๆ คือหลังผ่าตัด 4 ชั่วโมง พบความปวดอยู่ในระดับกลาง และหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง พบความปวดอยู่ในระดับต่ำ โดยชั่วโมงที่ 2, 4, 6, 8, 16 และ 24 เท่ากับ 6.7(S.D.=1.63), 5.3(S.D.= 1.39) , 3.9(S.D.= 1.51), 3.4(S.D.=1.57), 1.9(S.D.=1.06) และ 0.8 (S.D.=0.38) และพบว่าค่าเฉลี่ยความปวดหลังผ่าตัดลดลงหลังจัดการความปวดตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และผู้รับบริการพึงพอใจต่อการจัดการความปวดในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( =3.90, S.D.=0.30)
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรนำแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่ผ่าตัดอื่นๆต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.