การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Nichapa Tangman โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย การใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก, มะเร็งศีรษะและลำคอ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการระงับความรู้สึก  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  จำนวน 255 ราย  เก็บข้อมูลจากใบบันทึกการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยด้านวิสัญญีก่อนระงับความรู้สึก และใบบันทึกระหว่างระงับความรู้สึก ระหว่างเดือนมกราคม  พ.ศ. 2562 - เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563     วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากโดยใช้สถิติถดถอยลอจิสติคทวิ ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อลำบาก 5 ปัจจัย ได้แก่ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ  คือ การตรวจประเมินทางเดินหายใจแบบ mallampati class 3 และ 4 ส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 4.96  เท่าเมื่อเทียบกับ class 1 และ2 (OR=4.96, p=0.000) , ประวัติเคยฉายรังสีบริเวณใบหน้าและลำคอส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 3.56 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยมีประวัติเคยฉายรังสีบริเวณใบหน้าและลำคอ (OR =3.56, p=0.005)  ประวัติเคยผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 3.21 เท่า  เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีประวัติเคยผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ (OR =3.21, p=0.016)   มีก้อนที่คอส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 2.93 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีก้อนที่คอ (OR =2.93, p=0.005) และฟันหน้ายื่นหรือหลอส่งผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก  0.23  เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีฟันปกติ (OR =0.23 , p=0.015)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30