ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการเฝ้าระวังตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • เยาวดี ศรีสถาน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการมีส่วนร่วม การจัดการตนเอง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังดำเนินการ ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการตนเอง และภาวะสุขภาพ ในจังหวัดหนองบัวลำภู ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จำนวน 1,450 คน   ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการมีส่วนร่วม พฤติกรรมเสี่ยงและภาวะสุขภาพ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, paired samples T-Test  ผลการศึกษาพบว่า หลังดำเนินการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงลดลงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.001คือ พฤติกรรมเสี่ยงการออกกำลังกาย พฤติกรรมเสี่ยงการบริโภคอาหารพฤติกรรมเสี่ยงทางอารมณ์ พฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ พฤติกรรมเสี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มากที่สุดคือ การเลิกสูบบุหรี่  การออกกำลังกาย  และการรับประทานอาหาร ความเสี่ยงภาวะสุขภาพ 6 ด้าน โดยรวมลดลงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  ระดับน้ำตาลในเลือด  รอบเอว  และไขมันเกาะรอบช่องท้อง ตามลำดับ  สรุป พฤติกรรมการมีส่วนร่วมตามโปรแกรมควบคุมปัจจัยเสี่ยงครั้งนี้ จะทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ซึ่งสามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29